การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดต่อมทอลซิล ระหว่างวิธีใช้ไฟฟ้าจี้ตัดกับวิธีใช้เส้นลวดตัดและเย็บผูกในผู้ป่วยเด็ก
กรีฑา ม่วงทอง, ปุยฝ้าย จินดาประสาน*กองโสด ศอ นาสิกกรรม โรงพยาบาลอนันทมหิดล
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: การผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นการผ่าตัดที่ทำมากที่สุดของแพทย์สาขา หู คอ จมูกโดยวิธีทิ่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ วิธีไฟฟ้าจี้ตัด กับวิธีเส้นลวดตัดและเย็บผูก แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าวิธีไหนดีกว่ากันวัตถุประสงค์: ต้องการเปรียบเทียบ ปริมาณเลือดที่เสียในระหว่างการผ่าตัดต่อมทอนซิล ปริมาณการเสียเลือดหลังการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด และเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด จากการใช้วิธีไฟฟ้าจี้ตัดกับวิธีเส้นลวดตัดและเย็บผูกวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลองที่แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่ม ในผู้ป่วยเด็ก อายุตั้งแต่ 3-15 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดต่อมทอนซิล ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ใช้วิธีไฟฟ้าจี้ตัด และกลุ่มที่ใช้วิธีเส้นลวดตัดและเย็บผูก ทั้งสองกลุ่มได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด และการดูแลหลังผ่าตัดเหมือนกัน แล้วเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณเลือดที่เสียในระหว่างการผ่าตัด ปริมาณการเสียเลือดหลังการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดและเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดผลการวิจัย: มีผู้ป่วยเข้าทำการวิจัย 39 ราย เป็นกลุ่มที่ใช้วิธีไฟฟ้าจี้ตัด จำนวน 16 ราย และกลุ่มที่ใช้วิธีเส้นลวดตัดและเย็บผูก จำนวน 23 ราย พบว่า ปริมาณเลือดที่เสียในระหว่างการผ่าตัด มีความแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าจี้ตัด เท่ากับ 9.36 ม.ล. กลุ่มที่ใช้วิธีเส้นลวดตัดและเย็บผูก เท่ากับ 24.68 ม.ล. และความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด กับปริมาณการเสียเลือดหลังการผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่พบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดด้วยวิธีไฟฟ้าจี้ตัด น้อยกว่าวิธีเส้นลวดตัดและเย็บผูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าจี้ตัด เท่ากับ 11.32 นาที กลุ่มที่ใช้วิธีเส้นลวดตัด เท่ากับ 19.84 นาทีสรุปผลการวิจัย: พบว่าปริมาณเลือดที่เสียในระหว่างการผ่าตัดด้วยวิธีไฟฟ้าจี้ตัดจะน้อยกว่าใช้วิธีเส้นลวดตัดและทำผ่าตัดได้รวดเร็วกว่า แต่ปริมาณการเสียเลือดหลังการผ่าตัดและความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ด้วยวิธีไฟฟ้าจี้ตัด ไม่มีความแตกต่างกันจากการใช้วิธีเส้นลวดตัด
ที่มา
วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปี 2546,
ปีที่: 4 ฉบับที่ 2 หน้า 27-34
คำสำคัญ
Tonsillectomy, electrocautery, Snaring/suture ligation