การศึกษาความคุ้มทุนของการใช้อิมมูโนโกบูลินรักษาผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคคาวาซากิ
ศักดา อาจองค์, ไพโรจน์ โชติวิทยาธารากร, พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ, อภิชัย คงพัฒนโยธิน, จุล ทิสยากร, จุล ทิสยากร, พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ, ศักดา อาจองค์, อภิชัย คงพัฒนโยธิน, ไพโรจน์ โชติวิทยาธารากร
Division of Cardiology, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
                เพื่อหาความคุ้มทุนในระยะยาวของการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคคาวาซากิด้วยการให้อิมมูโนโกบูลินทางหลอดเลือดดำ โดยจำลองแบบจากการศึกษาผู้ป่วยคาวาซากิจำนวน 594 ราย ที่ Kato และคณะ ได้ศึกษาไว้ถึงภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดแดงโคโรนารีก่อนมีการใช้อิมมูโนโกบูลินรักษาโรคคาวาซากิ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้อิมมูโนโกบูลินทางหลอดเลือดดำในการรักษา โดยตั้งสมมุติฐานจากการศึกษาที่ผ่านมาว่าการให้อิมมูโนโกบูลินสามารถลดอัตราการเกิดหลอดเลือดแดงโคโรนารีโป่งพองลงได้จากร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 4 ในการคำนวณต้นทุนการติดตามการรักษาเป็นระยะเวลา 10 ถึง 21 ปี เช่นเดียวกับที่ Kato ศึกษาไว้ พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้อิมมูโนโกบูลินจะมีต้นทุนรวมต่ำกว่ากลุ่มที่ให้อิมมูโนโกบูลินในการรักษาเล็กน้อย (33,451,129 บาทต่อ 35,001,195 บาท) แต่ในการคำนวณต้นทุนต่อประสิทธิผลของการลดอัตราการเกิดหลอดเลือดแดงโคโรนารีโป่งพองและอัตราการตาย พบว่าการรักษาด้วยอิมมูโนโกบูลิน ให้ประสิทธิผลดีกว่า (359,576 บาท ต่อ 383,614 บาท) เมื่อคำนวณต้นทุนผลลัพธ์รวมพบว่าได้ผลไปในทางเดียวกันคือ กลุ่มที่ให้อิมมูโนโกโบลินรักษามีต้นทุนของผลลัพธ์รวมต่ำกว่า (25,365,215 บาท ต่อ 33,451,129 บาท) เมื่อคำนวณความแตกต่างของต้นทุนต่อความแตกต่างของผลดีระหว่างการรักษาทั้ง 2 วิธี พบว่าถ้าต้องการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี 1 ราย จะต้องเพิ่มต้นทุนขึ้นอีก 13,663 บาท และต้องเพิ่มต้นทุนการรักษาอีกเท่ากับ 387,517 บาท เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต 1 ราย เมื่อเลือกการรักษาด้วยอิมมูโนโกโบลิน เมื่อประเมินต้นทุนรวมทั้งหมดเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้จนถึงอายุ 60 ปี จะพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนรวมอย่างมากในกลุ่มที่ไม่ได้รับอิมมูโนโกโบลินในการรักษา (75,482,803 บาท ต่อ 29,883,883 บาท) สรุปได้ว่า การให้อิมมูโนโกโบลินในการรักษาผู้ป่วยโรคคาวาซากิในประเทศไทย นอกจากจะมีต้นทุนรวมที่ต่ำกว่าแล้วัยงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ให้อิมมูโนโกบูลิน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2546, June ปีที่: 86 ฉบับที่ Suppl2 หน้า S179-S188
คำสำคัญ
Cost, Coronary artery aneurysm, Intravenous immunoglobulin, Kawasaki disease, การให้อิมมูโนโกบูลินทางหลอดเลือดดำ, ภาวะหลอดเลือดแดงโคโรนารีโป่งพอง, โรคคาวาซากิ