การใส่ท่อหายใจโดยไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ: Fentanyl ร่วมกับ Propofol และ Midazolam ในโรงพยาบาลราชวิถี
Duangkae S, วชิรา อุดมพรมงคล, วรศักดิ์ สายโกสุม, ไพรรุ่ง เมฆไตรรัตน์*
Division of Anesthesiology, Rajavithi Hospital, Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
บทนำ: การใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อในการใส่ท่อหายใจในผู้ป่วยที่มาเข้ารับการผ่าตัดโดยวิธีให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปนั้นเป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่ในผู้ป่วยบางรายการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้ออาจมีข้อห้าม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวการณ์ใส่ท่อหายใจด้วยการใช้ fentanyl ร่วมกับ propofol และ midazolam โดยการใช้และไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด  วิธีการ: ศึกษาในผู้ป่วย 40 ราย โดยสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับ midazolam 0.05 mg/kb, fentanyl 3 µg/kg และ propofol 2.5 mg/kg ทางหลอดเลือดดำ โดยกลุ่ม A ทำการใส่ท่อหายใจโดยไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ส่วนกลุ่ม B  ทำการใส่ท่อหายใจโดยใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ succinylcholine 1 mg/kg ทางหลอดเลือด และประเมินภาวการณ์ใส่ท่อหายใจจากการขยับขากรรไกร การช่วยหายใจด้วยหน้ากากช่วยหายใจ การมองเห็นเส้นเสียง และการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการใส่ท่อหายใจ  ผลการศึกษา: สามารถใส่ท่อหายใจผู้ป่วยได้ร้อยละ 100 ในทั้ง 2 กลุ่ม โดยภาวการณ์ใส่ท่อหายใจในเรื่องการขยับขากรรไกร การช่วยหายใจด้วยหน้ากากช่วยหายใจ และการมองเห็นเส้นเสียง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่การตอบสนองของผู้ป่วยต่อการใส่ท่อหายใจและคะแนนรวม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) โดยความแตกต่างดังกล่าว ได้แก่ อาการไอขณะใส่ท่อหายใจ  สรุป: กลุ่มที่ไม่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อมีภาวการณ์ใส่ท่อหายใจที่ยอมรับได้ ร้อยละ85 ส่วนกลุ่มที่ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อมีภาวการณ์ใส่ท่อหายใจที่ยอมรับได้ ร้อยละ 100 ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นคือภาวะไอ
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2551, January-March ปีที่: 34 ฉบับที่ 1 หน้า 48-55
คำสำคัญ
Propofol, Fentanyl, Midazolam, Tracheal intubation without the use of muscle relaxants