คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พวงสร้อย วรกุล, เฟื่องฟ้า สีสวย*Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ดังนั้นผู้ดูแลจึงต้องให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลได้วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สถานที่ทำการศึกษา: คลินิกอายุรกรรมประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งผู้ป่วยที่ได้ทำการศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับบริการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรมประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการศึกษา: เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ดูแลทุกรายที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ จำนวน 260 คน ตั้งแต่ธันวาคม 2550 – มีนาคม 2551โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 4 ส่วนคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินระดับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (Barthel ADL Index) 3) แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย World Health Organization Quality of Life – BREF (WHOQOL-BREF-THAI) ซึ่งมีความเชื่อมั่น γ = 0.84 และ 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น γ = 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows version 11.5 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One-way ANOVA, Stepwise Multiple Linear Regression อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการศึกษา: 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.9 และเพศชาย ร้อยละ 23.1 มีอายุเฉลี่ย 46.7 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 31.2 และมีสถานภาพสมรสที่สมรสแล้ว ร้อยละ 50.4 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับกลาง (ร้อยละ 70.8) 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ ความเพียงพอของรายได้ โรคประจำตัวทางกาย จำนวนชั่วโมงในการดูแลผู้ป่วยต่อวัน และการสนับสนุน ทางสังคม (p < 0.05) และ 4) ปัจจัยที่สมารถทำนายคุณภาพชีวิตได้แก่ คะแนนสนับสนุนทางสังคม โรคประจำตัวทางกายและรายได้ โดยร่วมกันอธิบายได้ร้อยละ 44.7 (p < 0.05)วิจารณ์และสรุป: ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งผู้ที่มีอายุ สภาพภาพสมรส รายได้ ความเพียงพอของรายได้
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2551, July
ปีที่: 52 ฉบับที่ Suppl หน้า S15-S28
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, CAREGIVERS, Patients with stroke, ผู้ดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง