ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
จันทรา ธีระสมบูรณ์โรงพบาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเวชซึ่งเลือกมาจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive random sampling) จำนวน 317 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพและแบบวัดคุณภาพชีวิต ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ทดสอบความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย สถิติไคช-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการรับรู้ภาวะสุขภาพดีทุกด้าน (X = 128.5, S.D. = 19.85) ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพโดยทั่วไป ความจำกัดในการทำกิจกรรม และสภาพจิตอารมณ์2. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี (X = 176.08, S.D. = 23.97) โดยมีความพึงพอใจในชีวิตเฉพาเรื่องระดับดี (X = 67.18, S.D. = 10.17) ส่วนความพึงพอใจในวงกว้างของชีวิต และความรู้สึกต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X= 41.78, S.D. = 7.67) และ (X = 3.43, S.D. =0.94) ตามลำดับ3. การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .014. สมรรถภาพทางสังคมและสมรรถภาพทางด้านการดำรงชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยอื่นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต5. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าการรับรู้ภาวะสุขภาพและสมรรถภาพการดำรงชีพเป็นตัวทำนายคุณภาพชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 33.22
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2540, June
ปีที่: 4 ฉบับที่ 1 หน้า 117-126