คุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด จังหวัดนนทบุรี
พิทยา จารุพูนผล, สุธรรม นันทมงคลชัย*, อุดมลักษณ์ เปสะพันธุ์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol University 420/1 Rajvithi Road, Rajchathewi District, Bangkok, 10400, Thailand
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด จังหวัดนนทบุรี และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนดที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2548 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนดส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 70.5) รองลงมาคือ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 28.5) และระดับต่ำ (ร้อยละ 1.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และแรงสนับสนุนทางสังคม เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด พบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนดได้ ร้อยละ 52.6 และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถร่วมทำนายได้สูงสุด เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ควรเริ่มต้นจากการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง จัดตั้งเครือข่ายผู้เกษียณอายุเพื่อเปิดโอกาสให้ร่วมทำกิจกรรมทางสังคมด้วยกันอย่างกว้างขวาง
ที่มา
วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปี 2551, September-December
ปีที่: 38 ฉบับที่ 3 หน้า 407-415
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Early retired government officers, SELF-ESTEEM, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด, คุณภาพชี่วิต