ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
กมลวรรณ จันตระกูล*, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, ทิพาพร วงศ์หงษ์กุล
โรงพยาบาลพะเยา
บทคัดย่อ
                ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะเกิดอาการหายใจเหนื่อยหอบ และมีอาการกำ เริบได้เป็นระยะๆ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคได้ และหากผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนของครอบครัวร่วมด้วย ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการปฏิบัติพฤติกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อันจะเป็นผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและครอบครัว ที่คลินิกโรคปอด แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 จำนวน 30 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 ราย และกลุ่มทดลอง 15 ราย กำหนดเพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรคและยาที่ใช้ในการรักษาให้คล้ายคลึงกัน โดยกลุ่มทดลองได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวและกลุม่ ควบคุมไดรั้บการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดดัชนีคุณภาพชีวิต 3)โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว 4) คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5) ตารางสำหรับบันทึกจำ นวนครั้งในการออกกำลังกายร่วมกับการบริหารการหายใจแบบเป่าปาก และ 6) แบบประเมินการรับรู้การสนับสนุนของครอบครัวในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดผลการศึกษาพบว่า1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวดีกว่าก่อนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มทดลองหลังจากที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวดีกว่าคุณภาพชีวิตของกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าควรจะให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
ที่มา
พยาบาลสาร ปี 2549, January-March ปีที่: 33 ฉบับที่ 1 หน้า 14-30
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Chronic obstructive pulmonary disease, Family support, Pulmonary rehabilitation, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, การสนับสนุนของครอบครัว, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง