เคมีบำบัดด้วยยาซิสพลาตินร่วมกับรังสีรักษาเพิ่มเติมหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ I-IIA ที่มีความเสี่ยงสูง แบบทุกสัปดาห์กับแบบทุกสามสัปดาห์: การศึกษาเปรียบเทียบจำนวนการได้ยาตามเกณฑ์
กิตติภัต เจริญขวัญ, จตุพล ศรีสมบูรณ์, จารุวรรณ ตันติพลากร, ฉลอง ชีวเกรียงไกร, ชัยเลิศ พงษ์นริศร, ชำนาญ เกียรติพีระกุล, บัณฑิต ชุมวรฐายี*, ประภาพร สู่ประเสริฐ, สิทธิชา สิริอารีย์, อารีย์ พันธุศาสตรDivision of Gynecologic Oncology , Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบจำนวนการได้ยาเคมีบำบัดซิสพลาตินร่วมกับรังสีรักษาตามเกณฑ์ ระหว่างแบบทุกสัปดาห์กับแบบทุกสามสัปดาห์ ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ I-IIA ที่มีความเสี่ยงสูงหลังการผ่าตัดวัสดุและวิธีการ: ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ .2546 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทดลองทางคลินิกเชิงเปรียบเทียบการให้รังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด 2 แบบ- แบบทุก 3 สัปดาห์ หรือ แบบทุก 1 สัปดาห์-ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ I-IIA ที่มีความเสี่ยงสูงหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ที่มีมะเร็งชนิด squamous-cell, adenocarcinoma, หรื อ adenosquamous carcinoma จะได้ เข้ าร่วมในการศึกษานี้ผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องมี absolute neutrophil count อย่างน้อย 1,500 cells per cubic millimeter, platelet count อย่างน้อย 75,000 cells per cubic millimeter, creatinine clearance สูงกว่า 40 milliliter per minute, และการทำงานของตับปกติ ผู้ป่วยทั้งหมดจะได้รับรังสีรักษาภายนอกตามตารางเวลาแบบเดียวกัน ผู้ป่วยแต่ละคนจะถูกสุ่มจัดให้ได้รับยาเคมีบำบัดร่วมด้วยในแบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้คือ: 75 mg ของ cisplatin per square meter ในวันที่ 1, 22, 43 และ 64 หรือทุก 3 สัปดาห์ 4 ครั้ง (กลุ่มที่ 1) หรือ 40 mg ของ cisplatin per square meter ทุกสัปดาห์ 6 ครั้ง (กลุ่มที่ 2)ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลรวม 40 คน กลุ่มแรกที่ได้รับ cisplatin ทุก 3 สัปดาห์มีอัตราการได้ยาไม่ครบสูงกว่าและอัตราการเลื่อนยาเคมีบำบัดก็สูงกว่ากลุ่มที่ 2 ซึ่งได้รับยาเคมีบำบัดทุก 1 สัปดาห์ (p < 0.001 และ p = 0.0236 ตามลำดับ) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ของการเลื่อนยาเคมีบำบัดในกลุ่มที่ 1 เป็น 2.06 (95 percent confidence interval, 1.15 to 3.68) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 2 อัตราการได้ยาไม่ครบเนื่องมาจากพิษข้างเคียง และจำนวนยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่ใช้ไปของกลุ่มที่ 1 ก็มากกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญสรุป: รังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัดด้วย cisplatin แบบทุก 1 สัปดาห์มีอัตราการให้ยาได้ครบสูงกว่า ในขณะที่มีจำนวนการเลื่อนการให้ยาเคมีบำบัดออกไปต่ำกว่าแบบทุก 3 สัปดาห์ ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ I-IIA ที่มีความเสี่ยงสูงหลังการผ่าตัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, November
ปีที่: 88 ฉบับที่ 11 หน้า 1483-1492
คำสำคัญ
Cisplatin, Concurrent chemoradiation, High-risk cervical cancer