ผลของการประคบด้วยความเย็นต่ออาการปวดกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อกลุ่มงอศอกในเพศหญิง
ประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ*, วรรธนะ ชลายนเดชะ, โสภา พิชัยยงค์วงศ์ดีFaculty of Physical Therapy and Applied Movement Science, Mahidol University Bangkok 10700, Thailand
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาผลของการประคบด้วยความเย็น ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย (DOMS) ในหญิงจำนวน 40 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการวัดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อศอก, ระดับความเจ็บปวด, และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกายแบบกล้ามเนื้อยืดยาวจำนวน 8 ชุด (8 ครั้งต่อ 1 ชุด) และจะได้รับการวัดค่าดังกล่าวอีกครั้ง ภายหลังการออกกำลังกายทันที หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมการวิจัยจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับความเย็นนาน 20 นาทีหรือกลุ่มควบคุม ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการวัดค่าอีกครั้งภายหลังการออกกำลังกายที่ 24, 48, 72, และ 96 ชั่วโมง รวมถึงการซักถามระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบพัฒนาการในกลุ่มประคบเย็น โดยค่าพิสัยการเคลื่อนไหวในกลุ่มประคบเย็นลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ 24, 48, 72, 96 ชั่วโมง ภายหลังออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกลุ่มประคบเย็นลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ 48, 72, 96 ชั่วโมงภายหลังออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และอาการปวดในกลุ่มประคบเย็นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ 48, 72 ชั่วโมงภายหลังออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นประโยชน์ของการประคบเย็นในด้านการลดปวดรักษาความแข็งแรงและพิสัยการเคลื่อนไหว และส่งผลให้ระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้นนั้นสั้น
ที่มา
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ปี 2548, December
ปีที่: 5 ฉบับที่ 1 หน้า 99-110
คำสำคัญ
Exercise, Cryotherapy, Muscle soreness, การรักษาด้วยความเย็น, การออกกำลังกาย, อาการปวดกล้ามเนื้อ