ผลของดนตรีต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดในขณะออกกำลังกาย
กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล*, ชนิสา มายา, รดา ทองแท้, สมภิยา สมถวิล
Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Science, Naresuan University Pitsanulok, Thailand
บทคัดย่อ
จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของดนตรีคลาสสิกและดนตรีป๊อบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดในขณะออกกำลังกาย และเปรียบเทียบผลของดนตรีคลาสสิกและดนตรีป๊อบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดในขณะออกกำลังกายในเพศชาย จำนวน 28 คน ระหว่างช่วงอายุ 18-25 ปี โดยที่ผู้ถูกทดสอบทุกคนจะได้รับการปั่นจักรยานวัดงาน 3 การทดสอบ ซึ่งการทดสอบที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ผู้ถูกทดสอบไม่ได้ฟังดนตรี การทดสอบที่ 2 ผู้ถูกทดสอบได้ฟังดนตรีคลาสสิก การทดสอบที่ 3 ผู้ถูกทดสอบได้ฟังดนตรีป๊อบในขณะที่ทำการทดสอบ ทำการวัดการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดทุกๆ 5 นาที ซึ่งได้แก่ ค่าอัตราการเต้นหัวใจ ค่าความดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ค่าความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ค่าความพยายามในการออกกำลังกาย ระยะเวลาการออกกำลังกายจนกระทั่งไม่สามารถออกกำลังกายได้ต่อไปผลในการศึกษาครั้งนี้พบว่า อัตราการเต้นหัวใจ ค่าความพยายามในการออกกำลังกาย ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและคลายตัว ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) (ยกเว้นในนาทีที่ 5 จะพบว่า ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในกลุ่มที่ฟังดนตรีป๊อบ จะมีค่าน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)) และพบว่าในกลุ่มที่ฟังดนตรีป๊อบ มีระยะเวลาที่สามารถออกกำลังกายได้ยาวนานกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ดังนั้นการศึกษานี้สรุปได้ว่า ดนตรีที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ อาจไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดในขณะออกกำลังกาย แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ฟังดนตรีป๊อบสามารถออกกำลังกายได้ยาวนานที่สุด
ที่มา
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ปี 2549, July ปีที่: 6 ฉบับที่ 1 หน้า 59-75
คำสำคัญ
heart rate, Music, Blood pressure, Borg’s rating of perceived exertion (RPE), Cardiovascular system, Fitness testings, ดนตรี, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, สมรรถภาพการออกกำลังกาย