A Prospective Study Analyzing the Effects of Pretreatment Topical Melanin in Liposome and Long-pulsed Nd:YAG Laser in Combination Compared with Long-pulsed Nd:YAG Laser Alone for Hair Removal in Asian Skin
Kittika Chattinakorn*, Pichit Suwannaprakarn, Suthep Jerasutus
Suphannahong Dermatology Clinic
บทคัดย่อ
การกำจัดขนโดยเลเซอร์อาศัยหลักการทฤษฎี selective photothermolysis โดยเป้าหมายในการทำลายของแสงเลเซอร์ คือ ต่อมขน ซึ่งอาศัยเม็ดสีเป็นตัวดูดซับพลังงาน พบว่าช่วงเวลาของการกำจัดขนก็มีความสำคัญต่อการกำจัดขนให้ได้ผลดี เพราะขนที่จะถูกกำจัดได้ดีโดยแสงเลเซอร์จะเป็นขนในช่วง anagen เพราะจะมีเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวเจริญเติบโต และขนในช่วงนี้จะมีปริมาณเมลานินมาก ในปัจจุบันพบว่าการกำจัดขนโดยใช้เลเซอร์นั้นประสิทธิภาพยังไม่สูงมากนัก เนื่องจากเส้นขนบางชนิดจะไม่ค่อยตอนสนองต่อแสงเลเซอร์ ตัวอย่างเช่น ขนที่อยู่ในระยะ telogen stage ซึ่งเป็นที่ทราบว่าขนในช่วงนี้เป็นช่วงไม่เจริญเติบโต และมีปริมาณเมลานินน้อย หรือเส้นขนที่งอกขึ้นมาใหม่หลังจากที่ถูกทำลายโดยเลเซอร์ (regeneration) มีลักษณะเส้นขนขนาดเล็กลง และมีปริมาณเม็ดสีน้อยลงด้วย ดังนั้นถ้าสามารถเพิ่มปริมาณของเม็ดสีในต่อมขนและเส้นขนได้มากขึ้น การกำจัดขนโดยเลเซอร์ก็น่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะยิงขนในช่วงเวลาใดหรือโดยใช้เลเซอร์ชนิดใด และพลังงานที่ใช้ก็ไม่ต้องสูงมาก ผลข้างเคียงก็จะลดลงวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการกำจัดขนโดยใช้ melanin encapsulated liposome (LipoxÔmeÒ) เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการสเปรย์ยา ก่อนทำการรักษาโดยใช้ long-pulsed 1,064 nm Nd: YAG laser ในคนไทย วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาเพศหญิง 30 คน (รักแร้ 60 ข้าง) มีสีผิวตาม Fitzpatrick skin types III-V โดยแบ่งผู้เข้าร่วมเป็น 2 กลุ่ม: 1) control group ผู้หญิง 20 คน (40 รักแร้) ได้รับการรักษาโดยใช้ long-pulsed 1,064 nm Nd:YAG เพียงอย่างเดียว 2) study group  ผู้หญิงอีก 10 คน (20 รักแร้) ได้รับ spray ยา คือ melanin encapsulated in liposomes (LipoxÔmeÒ) บริเวณรักแร้ 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 28 วัน ก่อนทำการรักษาและแต่ละช่วงเวลาที่นัดมากำจัดขนด้วย laser ชนิดเดียวกัน คือ long-pulsed 1,064 nm Nd: YAG laser พลังงาน 30-45 J/cm2 ยิงเลเซอร์ทุก 4 สัปดาห์ ทำการรักษาทั้งหมด 3 ครั้ง สิ่งที่ใช้ประเมินคือเปอร์เซ็นต์ของปริมาณขนที่ลดลง และผลข้างเคียงหลังการรักษาผลการรักษา: เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยปริมาณเส้นขนที่ลดลงในกลุ่มใช้ยา LipoxÔmeÒ ก่อนได้รับการรักษาโดยใช้ long-pulsed 1,064 nm Nd: YAG ที่ 1 และ 6 เดือนหลังสิ้นสุดการรักษาคือ ร้อยละ 86.73 ตามลำดับ และเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยปริมาณเส้นขนที่ลดลงในกลุ่มได้รับการรักษาโดยใช้ long-pulsed 1,064 nm Nd:YAG เพียงอย่างเดียวที่ 1 และ 6 เดือน หลังสิ้นสุดการรักษาคือ 57% และ 43% ตามลำดับ พบว่ามีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ใช้ยา melanin in liposome สามารถกำจัดขนได้มากกว่ากลุ่มที่รักษาโดยใช้เลเซอร์เพียงอย่างเดียว (P< 0.001) ในแง่ผลข้างเคียง พบว่าเกิดรอยดำในกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาโดยใช้เลเซอร์เพียงอย่างเดียวสรุป: จากการศึกษานี้สรุปว่า ยาเพิ่มปริมาณเม็ดสีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขนได้ดี ทำให้เพิ่มระยะเวลาการงอกของขนให้นานกว่าการศึกษาที่ผ่านมา โดยผลข้างเคียงก็น้อยกว่าการใช้เลเซอร์เพียงอย่างเดียว
ที่มา
วารสารผิวหนัง ปี 2549, October ปีที่: 11 ฉบับที่ 2 หน้า 137-145