A Clinical Comparative Study of Two Local Dental Anesthetics : Articaine and Mepivacaine
Chayarop Supannachat, Pathawee Khongkhunthian*, Siriporn Chattipakorn, Tanida Srisuwan
Department of Restorative Dentistry, Faculty of Dentistry, Chiang Mai University
บทคัดย่อ
อาติเคนเป็นยาชาแบบเฉพาะที่ชนิดเอไมด์ตัวใหม่ที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาชาอาติเคนความเข้มข้นร้อยละ 4 ที่ผสมเอพิเนฟรีนในสัดส่วนหนึ่งต่อแสน และยาชาเมพิวาเคนความเข้มข้นร้อยละ 2 ที่ผสมเอพิเนฟรีนในสัดส่วนหนึ่งต่อแสนซึ่งเป็นยาชาที่นิยมใช้ในทางทันตกรรม การศึกษานี้เป็นการศึกษาโดยสุ่มแบบดับเบิลบลายด์ โดยศึกษาในรากฟันเดียวที่ได้รับการถอนฟันและรักษาฟัน อาสาสมัครมีอายุระหว่าง 10 ถึง 44 ปี ได้รับการฉีดยาชาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยการสุ่ม ประสิทธิภาพของยาชาถูกกำหนดโดยใช้วิชวลอะนาลอกสเกลหรือ วีเอเอส วิเคราะห์ผลทางสถิติแบบที่มีการกระจายของข้อมูลเป็นแบบไม่ปกติ ผลการศึกษาพบว่าในจำนวนอาสาสมัครทั้งหมด 68 คน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกี่ยวกับสถิติประชากรของอาสาสมัครที่แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มในสองการทดลอง ระยะเวลาที่เริ่มชาในแต่ละวิธีการรักษาถูกนำมาเปรียบเทียบกันเมื่อใช้ยาชาต่างชนิดกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละกลุ่มการทดลองเมื่อวัดอัตราการเจ็บปวดด้วยมาตรวัดวีเอเอส(p>0.05 ครัสคาล-วาลลิส เทสต์) จากการศึกษาแสดงว่ายาชาอาติเคนความเข้มข้นร้อยละ 4 มีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดในทางคลินิกในขณะถอนฟันและรักษารากฟัน และมีระยะเวลาในการเริ่มชาที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในทางคลินิก เมื่อเปรียบเทียบกับยาชาแบบเฉพาะที่ที่มีจำหน่ายทั่วไป
ที่มา
เชียงใหม่ทันตแพทยสาร ปี 2546, January-December ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 83-88
คำสำคัญ
Local anesthetic, Articaine, Mepivacaine