ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน กับความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้พิการ จากการบาดเจ็บไขสันหลัง ภายหลังออกจากโรงพยาบาล
Wachiraporn Wittayanin, พรเพ็ญ วิทยานิล, พิศักดิ์ ชินชัย*
Department of Occupational Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University
บทคัดย่อ
                ผู้พิการจากการบาดเจ็บไขสันหลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ขณะที่ระบบการรักษาฟื้นฟูไม่ค่อยคำนึงถึงการดำเนินชีวิต เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน สภาพจิตใจอารมณ์ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาลว่าเป็นเช่นไร หรือส่งผลต่อกันอย่างไร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าความสามารถด้านการทำวัตรประจำวันมีความสัมพันธ์หรือไม่ต่อภาวะอารมณ์ ด้านความซึมเศร้า ความวิตกกังกลและความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้พิการเหล่านี้ กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบสุ่มจำนวน 30 คน จากโรงพยาบาลมหาราช แมคเคน และนครพิงค์  จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลหลังจากผู้พิการออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และDepression, Anxiety and Stress Scales (ฉบับภาษาไทย) และเครื่องชี้วัดคุณภาพขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถ ด้านการประกอบกิจวัตรประจำวัน มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล และความเครียด นั่นคือผู้ที่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้มาก จะมีภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเครียดน้อย นอกจากนี้ ความสามารถด้านการประกอบกิจวัตรประจำวัน ยังมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต แสดงว่าผู้ที่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดี ย่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย บุคลากรด้านสุขภาพควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพผู้พิการประเภทต่างๆ
ที่มา
วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปี 2551, July-September ปีที่: 31 ฉบับที่ 3 หน้า 119-128