การลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักยุบด้วยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลัง
บรรเทิง พงศ์สร้อยเพชร, บรรเทิง พงศ์สร้อยเพชรOrthopedic Division, CharoenKrung Pracharak Hospital, 8 Thanon Tok, Bangkoaleam, Bangkok 10120, Thailand
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือการหักยุบของตัวกระดูกสันหลัง มีผลให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณหลัง ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดต่อเนื่องและรุนแรงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และเสียชีวิตในอัตราสูง การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลังเป็นการใช้เข็มฉีดซีเมนต์เข้าไปในเนื้อกระดูกเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ตัวกระดูกสันหลัง จุดมุ่งหมายของการรักษาวิธีนี้ คือ เพื่อลดความเจ็บปวดในผู้ ป่วยที่มีการหักยุบของตัวกระดูกสันหลังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลัง ในการลดความเจ็บปวดที่เกิดจากการหักยุบของตัวกระดูกสันหลัง วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักยุบได้รับการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นานกว่า 4 สัปดาห์ แต่ยังคงมีอาการปวดหลังมากจำนวน 35 ราย (ชาย 1 ราย หญิง 34 ราย) อายุระหว่าง 48-98 ปี (เฉลี่ย 71.6 + 10.7 ปี) ตรวจพบการหักยุบด้วยภาพถ่ายรังสี 20-80% ของตัวกระดูกสันหลัง ได้รับการฉีดซีเมนต์เข้ าตัวกระดูกสันหลังที่หักจำนวน 66 ปล้องเป็นกระดูกระดับอก 27 ปล้อง กระดูกระดับเอว 39 ปล้อง ติดตามผลการรักษาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นเวลา 3-20 เดือน (เฉลี่ย 7.4 เดือน) โดยวิเคราะห์ความเจ็บปวดเป็นคะแนนจากมาตรวัดความเจ็บปวด (Visual Analog Scale: VAS) เปรียบเทียบก่อนการรักษากับหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 1, 4, 8 และ 16 ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 32 ราย (91%) มีค่าคะแนนความเจ็บปวด (VAS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่งยวด (p = 0.0001) ภายในเวลา 16 สัปดาห์หลังได้รับการรักษา ค่าคะแนนความเจ็บปวดเฉลี่ยก่อนการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลัง 6.9 + 1.8 เปรียบเทียบกับ 2.0 + 1.8 (p = 0.001) 8 สัปดาห์หลังได้รับการรักษาภาวะแทรกซ้อน จากการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลังพบ 2 รายมีอาการปวดร้าวมาตามแนวเส้นประสาทไซอะติกแต่อาการทุเลาและหายภายในเวลา 3 เดือน สรุป: การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลัง เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว ให้ผลการรักษาต่อเนื่องยาวนานในผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักยุบที่มีอาการปวดไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, March
ปีที่: 90 ฉบับที่ 3 หน้า 479-484
คำสำคัญ
Percutaneous vertebroplasty, Vertebral compression fracture