ประสิทธิภาพของการสวนล้างช่องคลอดต่อภาวะไข้และการติดเชื้อหลังการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง: การศึกษาแบบสุ่ม
ประนอม บุพศิริ, โฉมพิลาศ จงสมชัย, นารีรักษ์ วงศ์พราวมาศ, บรรพจน์ สุวรรณชาติ, Pisake Lumbiganon, นารีรักษ์ วงศ์พราวมาศ, บรรพจน์ สุวรรณชาติ, ประนอม บุพศิริ, โฉมพิลาศ จงสมชัยDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพของการสวนล้างช่องคลอดด้วย 1% povidone-iodine ในการลดภาวะไข้และภาวการณ์ติดเชื้อหลังการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องวิธีการ: ได้ทำการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยจำนวน 300 ราย ที่ได้วางแผนไว้จะทำการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องในโรงพยาบาล 3 ระดับ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลจังหวัด ผู้ป่วยจะถูกสุ่มจัดแบ่งไปอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการสวนล้างช่องคลอดด้วย 1% povidine-iodine ก่อนผ่าตัด และกลุ่มที่ไม่ได้สวนล้างช่องคลอดอย่างละเท่าๆ กัน ผู้ประเมินภายนอกจะเป็นผู้ประเมินภาวะไข้ และภาวการณ์ติดเชื้อหลังผ่าตัดผลการศึกษา: อุบัติการณ์ภาวะไข้หลังผ่าตัด ในกลุ่มที่ได้รับการสวนล้างช่องคลอด และไม่ได้การสวนล้างช่องคลอด เป็นร้อยละ 25 และ 35 ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (risk difference -9.6%, 95% CI -19.9%, 0.8%, adjusted odds ratio 0.6, 95% CI 0.3%, 1.0%) แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของภาวะการติดเชื้อหลังผ่าตัดในกลุ่มที่สวนล้างช่องคลอด และไม่ได้สวนล้างช่องคลอด (8% vs 19%, risk difference -10.0%, 95% CI -17.8%, -2.2%, adjusted odds ratio 0.4, 95% CI 0.2%, 0.9%) สรุป: การสวนล้างช่องคลอดก่อนทำการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องด้วย 1% povidine-iodine สามารถลดภาวะการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2547, January
ปีที่: 87 ฉบับที่ 1 หน้า 16-23
คำสำคัญ
total abdominal Hysterectomy, Vaginal douching, การผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง, การสวนล้างช่องคลอด