การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอลเปรียบเทียบกับการใช้ฟิล์มในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Pirom Kamolratanakul, Thosporn Vimolket, กมลวรรณ ธังศิริ, บุษบง หนูหล้า, มานัส มงคลสุข, ศุภขจี แสงเรืองอ่อน*, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธ์ิ, เยาวนา ธนะพัฒน์
Department of Radiology, Phramongkutklao Hospital, 315 Rajavithee Road, Bangkok 10400,Thailand. Phone: 0-2354-7600 ext. 93813, 080-066-4440, Fax: 0-2354-5243. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไประหว่างการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอลและวิธีฟิล์มวัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอลในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปโดยเปรียบเทียบกับวิธีฟิล์มซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยใช้ผู้วัด 2 คนที่เป็นอิสระต่อกันในการวิเคราะห์ผลของการควบคุมคุณภาพของทั้ง 2 วิธี การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์กระทำโดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนที่ต่ำสุด ข้อมูลทั้งหมด (การควบคุมคุณภาพ, ต้นทุน) รวบรวมจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551ผลการศึกษา: ผลของการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปโดยการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอล และวิธีฟิล์มมีความเทียบเคียงกัน ความสอดคล้องของผู้วิเคราะห์ผลทั้ง 2 คน อยู่ในระดับเกือบสมบูรณ์ โดยต้นทุนต่อการควบคุมคุณภาพ 1 ครั้ง, เวลาและปริมาณรังสีที่ใช้สำหรับเครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์ เป็นดิจิตอลในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปน้อยกว่าวิธีฟิล์ม (p-value < 0.001)สรุป: การควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปโดยใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอล มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีฟิล์ม การใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอลสำหรับการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปจะทำให้ประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, February ปีที่: 92 ฉบับที่ Suppl 1 หน้า S74-S83
คำสำคัญ
Economic evaluation, Computed radiography, Film, Quality control