การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของโครงการตรวจคัดกรองสายตาสำหรับเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย
ภาสุรี แสงศุภวานิช, วรรณี จันทร์สว่าง, สุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์*
Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. Phone: 074-451-380, Fax: 074-429-619. E-mail: tsupapor@ medicine.psu.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: วิเคราะห์ประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของโครงการตรวจคัดกรองสายตาสำหรับเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทยวัสดุและวิธีการ: เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 1,900 คน จาก 11 โรงเรียนในภาคใต้ของไทยได้รับการประเมินการเห็นชัดด้วยแผ่นตัวอักษรของ Snellen การทดสอบของ Hirschberg การตรวจตาด้วยไฟฉาย และการสังเกตกิริยาสนองฉับพลันเป็นสีแดงด้วยการกล้องส่องตรวจลูกตาโดยตรง ในระหว่าง เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 เด็กนักเรียนที่มีระดับสายตา 20/40 หรือน้อยกว่าหรือพบความผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดของตาข้างหนึ่งข้างใดได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจตา และตรวจการหักเหของตา เพื่อแยกประเภทตามความรุนแรงของภาวะความผิดปกติและวิเคราะห์ความคุ้มค่าในแต่ละกลุ่มผลการศึกษา: เด็กจำนวน 168 คน (ร้อยละ 8.84) มีปัญหาที่ควรได้รับการส่งต่อมีพ่อแม่จำนวน 122 คน ลงนามในใบยินยอมสำหรับการตรวจเพิ่มเติม เด็กมีอายุเฉลี่ย 8.7 ปี (พิสัยระหว่าง 6-12 ปี) เด็ก 107 คน จาก 122 คน (ร้อยละ 87.70) มีการหักเหของตาข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้างผิดปกติ ค่าใช้จ่ายโดยตรงเฉลี่ยของการตรวจคัดกรองสายตาด้วยนักวิจัยผู้ช่วย โดยไม่รวมค่าเดินทางและค่าบริหารโครงการเท่ากับ 14.9 บาทต่อคน (~0.5 USD, 0.3 Euro) สำหรับการดำเนินการอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ถ้ากำหนดเป้าหมายเป็นเด็กมีภาวะตาผิดปกติระดับเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง ค่าใช้จ่ายต่อหัวเท่ากับ 1,018.4 บาท ถ้ากำหนดเป้าหมายเป็นเด็กมีภาวะตาผิดปกติระดับปานกลาง และรุนแรง ค่าใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มเป็นเท่ากับ 2,270.1 บาทสรุป: ผลการศึกษานี้ชี้บ่งว่าโครงการตรวจตัดกรองสายตามีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สำหรับ เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, August ปีที่: 92 ฉบับที่ 8 หน้า 1050-1056
คำสำคัญ
Cost analysis, STUDENTS, Vision screening