การศึกษาคุณภาพชีวิตของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
ชวนันท์ ชาญศิลป์, ชาตรี วิฑูรชาติ, อรวรรณ เลาห์เรณู*, ไกรศร พงศ์วิไลรัตน์Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: โรคสมาธิสั้นมีผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว การศึกษานี้ทำเพื่อประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้นเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่เจ็บป่วยทั้งโรคทางกายและโรคจิตเวช วัสดุและวิธีการ: เด็กและพ่อแม่ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตซึ่งครอบคลุม 4 ด้านคือ การทำหน้าที่ทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และการเรียน โดยมีเด็กสมาธิสั้น 46 คน และเด็กกลุ่มควบคุม 94 คน ขณะทำการศึกษามีเด็กสมาธิสั้นจำนวน 17 คนได้รับยารักษาโรคสมาธิสั้นด้วย ผลการศึกษา: เมื่อควบคุมอายุของเด็กและลักษณะสภาพทางสังคม พบว่าทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ของเด็กโรคสมาธิสั้นรายงานคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเด็กและพ่อแม่ของกลุ่มควบคุม เด็กสมาธิสั้นเห็นว่าตนเองมีคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายต่ำแม้สุขภาพแข็งแรงก็ตาม สรุป: พบว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีปัญหาคุณภาพชีวิตทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ การช่วยให้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพดีขึ้นควรเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินและเป้าหมายในการดูแลเด็กกลุ่มนี้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, August
ปีที่: 88 ฉบับที่ 8 หน้า 1062-1066
คำสำคัญ
Quality of life, ADHD