ผลในการลดปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิด TENS
ขวัญยุพา สุคนธมาน*, ณฤพร ชัยประกิจ, ทวีชัย เตชะพงศ์วรชัย, Niruthisad S, อารีรัตน์ สุพุทธิธาดาDepartment of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของ TENS ในการลดปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง และประสิทธิผลของการใช้ TENS แบบ patient – controlled analgesia (PCA)รูปแบบการวิจัย การศึกษาเชิงทดลองชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม และผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มใดสถานที่ทำการวิจัย ฝ่ายศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการศึกษา ผู้ป่วยหลังผ่าตัดชนิด laminectomy และ dissectomy ไม่เกิน 3 ระดับ ได้รับการสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม Placebo TENS คือมีการติดเครื่อง TENS และมีไฟแสดงการทำงานของเครื่อง แต่ไม่มีกระแสไฟกระตุ้นจริง Time - scheduled TENS คือ กระตุ้น TENS 1 ชั่วโมง 3 ครั้ง/วัน ห่างกัน 8 ชั่วโมง จนครบ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และ PCA TENS คือกระตุ้น TENS อย่างน้อย 15 นาที เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึก ปวดแผล หากยังรู้สึกปวดแผลอยู่จะให้ PCA morphine ในทุกกลุ่มประเมินระดับความรู้สึกปวด ก่อนกระตุ้นและหลังผ่าตัดครบ 48 ชั่วโมง ประเมินความพึงพอใจต่อการลดปวด และปริมาณ PCA Morphine ที่ต้องการใน 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดผลการศึกษา ระดับความปวด ความพึงพอใจ และปริมาณการใช้ Morphine ในผู้ป่วย ทั้ง3กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P<0.05 แต่ใน กลุ่ม Time-scheduled TENS และ PCA TENS มีแนวโน้มการใช้ยา Morphine น้อยกว่ากลุ่ม Placebo TENSสรุป Time-scheduled TENS และ PCA TENS ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด laminectomy และ dissectomy มีแนวโน้มที่จะลดปริมาณการใช้ Morphine ได้
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2552, January-February
ปีที่: 53 ฉบับที่ 1 หน้า 13-22
คำสำคัญ
TENS, Patient - controlled analgesia (PCA), Post laminectomy and dissectomy pain, ปวดหลังผ่าตัด laminectomy และ dissectomy