การรักษาอาการปวดภายหลังการผ่าตัดกระดูกสั นหลังเปรียบเทียบระหว่างลอร์นอซิเคมกับยาหลอกโดยให้ก่อนเสร็จการผ่าตัด: การศึกษาแบบสุ่มปกปิดสองฝ่าย
สมบูรณ์ เทียนทอง*, กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สุธันนี สิมะจารึก, วัฒนา ตันทนะเทวินทร์, อักษร สาธิตการมณี, กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย, วัฒนา ตันทนะเทวินทร์, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง, สุธันนี สิมะจารึก, อักษร สาธิตการมณีDepartment of Anesthesiology, Faculty of Medicine, KhonKaen University, Khon Kaen 40002, Thailand.
บทคัดย่อ
บทนำ : Lornoxicam เป็น NSAIDs ชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำชนิดเดียวที่มีในประเทศไทยในขณะทำการศึกษานี้มีรายงานการใช้ lornoxicam ระงับปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบ microsurgery ได้ผลดี แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการระงับปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบเปิดซึ่งมีระดับความปวดปานกลางถึงรุนแรง จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ โดยมีสมมติฐานว่ายา lornoxicam สามารถระงับปวดหลังผ่าตัดได้ดีกว่ายาหลอกวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาความปวดที่ห้องพักฟื้นและผลข้างเคียงของ lornoxicam 16 มก.กับยาหลอก เมื่อฉีดให้ทางหลอดเลือดดำครั้งเดียวก่อนสิ้นสุดการผ่าตัดกระดูกสันหลังวิธีการศึกษา : ศึกษาแบบ randomized-controlled trial ในผู้ป่วย 56 ราย โดยกลุ่มทดลอง (กลุ่ม L) จะได้รับยา lornoxicam 16 มก. ส่วนกลุ่มควบคุม (กลุ่ม P) จะได้ยาหลอกโดยฉีดทางหลอดเลือดดำเมื่อเริ่มเย็บปิดแผลผ่าตัด ประเมินอาการปวดขณะผู้ป่วยนอนพักโดยใช้ verbal numeric rating scale: VNRS 0-10 ที่เวลาแรกรับในห้องพักฟื้น (T0) และที่ 1 (T1) และ 2 (T2) ชั่วโมงหลังผ่าตัด บันทึกระยะเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มขอยาระงับปวดครั้งแรก ปริมาณ morphine ที่ใช้ระงับปวด และอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นผลการศึกษา : สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีระดับความปวด VNRS > 5 ที่ เวลา T0 ระหว่างกลุ่ม P และกลุ่ม Lไม่แตกต่างกันทางสถิติ (44.4% vs 50.0%, CI of difference: -32.4%, 21.3%, P = 0.68 ) ระดับความปวดเฉลี่ย (Mean) ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน โดยที่เวลา T0 และ T1 พบมี VNRS > 5 ส่วนที่ T2 มี VNRS <5 ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ระยะเวลาที่เริ่มขอยาระงับปวดครั้งแรกของทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน (35 นาทีในกลุ่ม P vs 45 นาที ในกลุ่ม L) เช่นเดียวกับปริมาณ morphine เฉลี่ยที่ใช้ในการระงับปวดใน 2 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดของกลุ่ม P และกลุ่ม L พบว่าไม่แตกต่างกัน (9 มก. vs 9.3 มก.)อาการคลื่นไส้อาเจียน ของทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน แต่จำนวนผู้ป่วยในกลุ่ม L มีอาการง่วงนอนที่เวลา T0 สูงกว่ากลุ่ม P เล็กน้อย (11 ราย vs 14 ราย) อย่างไรก็จำนวนผู้ป่วยที่ต้องการใช้ออกซิเจนในระหว่างการนำส่งผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วยของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันสรุป : การให้ยา lornoxicam 16 มก. ฉีดก่อนเสร็จการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่สามารถลดสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความปวดในระดับ VNRS > 5 ในระยะเริ่มฟื้นจากยาสลบลงได้ อย่างไรก็ตามที่เวลา 2 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดผู้ป่วยก็ได้รับการระงับปวดที่เพียงพอเช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2547, June
ปีที่: 87 ฉบับที่ 6 หน้า 650-655
คำสำคัญ
postoperative pain, PACU, Lornoxicam, Spinal surgery