ผลของแผนการดูแลทางคลินิกต่อระยะเวลาของกระบวนการผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ
กันยา ออประเสริฐ, ดวงรัตน์ ดวงเนตร*, พันธ์ศักดิ์ ลักษณบุญส่ง, ศิริพร ปิติมานะอารี, อุษาวดี อัศดรวิเศษDepartment of Nursing, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของแผนการดูแลทางคลินิกต่อระยะเวลาของกระบวนการผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบวางแผนล่วงหน้า สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มศึกษา 50 คน และกลุ่มควบคุม 50 คน โดยการใช้ตารางเลขสุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วย ผู้ป่วย 25 คนและญาติของผู้ป่วย 25 คน แผนการดูแลทางคลินิกประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การประเมิน การจัดเตรียมและตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านจิตใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระยะเวลาของกระบวนการผ่าตัด แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบทีผลการวิจัย: ระยะเวลาของกระบวนการผ่าตัดของกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยและญาติในกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรสนับสนุนการใช้แผนการดูแลทางคลินิกในผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการตรวจสอบความพร้อมของผู้ป่วย การสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านจิตใจ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดได้รับการดูแลที่เป็นระบบและเกิดความพึงพอใจ
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2552, May-August
ปีที่: 27 ฉบับที่ 2 หน้า 68-76
คำสำคัญ
Clinical pathway, SATISFACTION, ความพึงพอใจ, Coronary artery bypass graft, Duration of surgical process, Multidisciplinary team, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, ทีมสหสาขาวิชาชีพ, ระยะเวลาของกระบวนการผ่าตัด, แผนการดูแลทางคลินิก