Intravenous Ephedrine Infusion for Prophylaxis of Hypotension during Spinal Anesthesia for Cesarean Section
กษมาพร เที่ยงธรรม*, ธัญมน อสัมภินวัฒน์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพอุบัติการณ์ความดันเลือดต่ำ คะแนน Apgar ของทารกแรกคลอด และผลข้างเคียงของยา ephedrine แบบหยดต่อเนื่องทางหลอดเลือดดำกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานหลังการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยที่มาผ่าท้องทำคลอด 96 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีสุ่ม กลุ่มศึกษาได้รับ ephedrine 18 มก. (3 ซีซี) ผสมในน้ำเกลือนอร์มอล 100 ซีซี กลุ่มควบคุมได้รับน้ำเกลือนอร์มอล (ยาหลอก) 3 ซีซี ผสมในน้ำเกลือนอร์มอล 100 ซีซี หยดต่อเนื่องทางหลอดเลือดดำภายใน 10 นาที ผู้ป่วยทุกรายได้รับสารน้ำ Lactated Ringer's solution 20 ซีซีต่อน้ำหนักก่อน จึงฉีดยาชา 0.5% hyperbaric bupivacaine ในตำแหน่ง intervertebral space L3-4 หรือ L4-5ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ความดันเลือดต่ำในกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา คือ ร้อยละ 93.8 และ 85.4 (p = 0.181) ตามลำดับ คะแนน Apgar นาทีที่ 1 และ 5 ใกล้เคียงกัน ผลข้างเคียง เช่น reactive hypertension, ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว และปวดศีรษะทั้ง 2 กลุ่มไม่ต่างกันสรุป: ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์ความดันเลือดต่ำโดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ให้ยา ephedrine แบบหยดต่อเนื่องทางหลอดเลือดดำและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2552, July-August ปีที่: 27 ฉบับที่ 4 หน้า 291-300
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, Cesarean section, Hypotension, Intravenous ephedrine infusion, การผ่าท้องคลอด, การระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ยา ephedrine แบบหยดต่อเนื่องทางหลอดเลือดดำ, อุบัติการณ์ความดันเลือดต่ำ