การเปรียบเทียบประสิทธิผลการชักนำการเจ็บครรภ์ของการใช้ Misoprostol ทางช่องคลอดกับการกินในการชักนำการเจ็บครรภ์ในครรภ์ครบกำหนด
สมคิด สุริยเลิศSomdejprasangkharaj 17th Hospital, Songphinong District, Suphan Buri
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ randomized controlled นี้เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดด้วย misoprostol ขนาด 50 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอด กับ กินยาขนาด 100 ไมโครกรัม โดยสุ่มสตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดจำนวนทั้ง ิ้น 150 ราย ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 75 ราย โดยกลุ่มที่ใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดได้รับ misoprostol ขนาด 50 ไมโครกรัม ทุก 6 ชม. และอีกกลุ่มได้กิน misoprostol ขนาด 100 ไมโครกรัม ทุก 6 ชม. จนเจ็บครรภ์ (มดลูกหดรัดตัว 3 ครั้งใน 10 นาที) โดยใช้ยาไม่เกิน 8 ครั้ง หลังจากนั้นเจาะถุงน้ำคร่ำ และให้ oxytocin ตามข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์จนคลอด โดยดูผลที่ต้องการศึกษาหลักคือ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้ยาจนคลอด วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย unpaired student’s t-test, Fisher’s exact test และไคสแควร์ พบว่าลักษณะทั่วไปของประชากรทั้ง องกลุ่มมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาในการชักนำการคลอดสำเร็จในกลุ่มที่ใช้เหน็บยาทางช่องคลอดสั้นกว่ากลุ่มที่กินยา (909.19 SD 36.81 เทียบกับ 1,283.34 SD 69.38 นาที) จำนวนครั้งในการให้ยา (2.38 SD 0.41 เทียบกับ 3.85 SD 0.81 ครั้ง) และปริมาณยารวมจนคลอด (120.24 SD 15.33 เทียบกับ 361.71 SD 31.21 ไมโครกรัม) ในกลุ่มเหน็บยาทางช่องคลอดน้อยกว่ากลุ่มที่กินยา อัตราความ ำเร็จในการชักนำให้คลอดด้วยยาเพียงหนึ่งครั้ง (40.00% เทียบกับ 24.00%) และระยะเวลาคลอดภายใน 24 ชม. (62.67% เทียบกับ 37.33%) ในกลุ่มเหน็บยาทางช่องคลอดมากกว่ากว่ากลุ่มที่กิน ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของ อัตราการใช้ oxytocin ช่วยเร่งคลอด วิธีการคลอด อัตราความเสี่ยงต่อทารกแรกคลอด อัตราการตกเลือดหลังคลอด และไม่พบภาวะ hyperstimulation ในทั้ง องกลุ่ม พบเพียงการหดรัด tachysystole ในกลุ่มเหน็บยาทางช่องคลอดมากกว่ากลุ่มกินยาเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มีนัย ำคัญ ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ ของ misoprostol ในทั้งสองกลุ่ม ดังนั้นการให้ยา misoprostol ขนาด 50 ไมโครกรัมเหน็บช่องคลอด ทุก 6 ชม. มีประสิทธิภาพในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดใน ตรีตั้งครรภ์ครบกำหนด สูงกว่าการให้ยา misoprostrol ขนาด 100 ไมโครกรัมกินทุก 6 ชม. เพราะมีระยะเวลาในการคลอดหลังเริ่มให้ยาสั้นกว่า จำนวนครั้งในการให้ยาและปริมาณยาที่น้อยกว่า โดยมีอัตราความสำเร็จในชักนำการคลอดที่สูงกว่า ดังนั้น misoprostol ขนาด 50 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอดทุก 6 ชม. จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการชักนำการคลอดที่ประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย และราคาถูก
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2551, September-October
ปีที่: 17 ฉบับที่ 5 หน้า 792-801
คำสำคัญ
Misoprostol, Induction of Labor, Oral administration, Term pregnancy, Vaginal administration, กินยา, ครรภ์ครบกำหนด, ระยะเวลาคลอด, เหน็บยาทางช่องคลอด, ไมโซโพรสโทล