การศึกษาวิธีการเช็ดสะดือที่บ้าน 3 วิธี ในทารก เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการหลุดของสายสะดือ ความพึงพอใจของบิดามารดา และการตรวจพบเชื้อที่่สะดือ
นิรันดร์ วรรณประภา, พรพัฒน์ รัศมีมารีย์, เกศนี เดชาราชกุล, แสงแข ชำนาญวนกิจ*Department of Pediatrics, Phramongkutklao Hospital, 315 Rajavithee Rd, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 0-2354-7660 ext 94109, 94180, Fax: 0-2248-4191, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะเวลาการหลุดของสายสะดือและความพึงพอใจของบิดามารดา เปรียบเทียบระหว่างการเช็ดสะดือที่บ้าน ด้วยทริปเปิลดายส์ แอลกอฮอล์ และไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อใด ๆ วัสดุและวิธีการ: ทารกจะได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มตามชนิดของสารที่ใช้เช็ดสะดือที่บ้าน กลุ่มที่ 1) ทริปเปิลดายส์ กลุ่มที่ 2) แอลกอฮอล์ หรือ กลุ่มที่ 3) เช็ดสะดือให้แห้งโดยไม่ใช้สารป้องกันการติ ดเชื้อ ทารกจะได้รับการเพาะเชื้อที่สะดือเมื่ออายุประมาณ 1 สัปดาห์, เมื่อทารกอายุ 1 เดือน ผู้วิจัยจะสอบถามบิดามารดาถึงระยะเวลาที่สายสะดือหลุด และความพึงพอใจ ผลการศึกษา: ทารกในแต่ละกลุ่ม มีจำนวน 63, 60 และ 62 ราย ตามลำดับ ระยะเวลาที่สายสะดือหลุดในทารกกลุ่มที่ 1 จะนานกว่ากลุ่มที่ 2 (p = 0.036) และกลุ่มที่ 3 (p =0.003) คะแนนความพึงพอใจของบิดามารดาในทารกกลุ่มที่ 1 จะต่ำกว่า ในกลุ่มที่ 2 (p = 0.019) และกลุ่มที่ 3 (p < 0.01) ผลการเพาะเชื้อที่สะดือจำนวน 180 ราย พบเชื้อแบคทีเรียทุกราย แต่ไม่พบ ภาวะสะดืออักเสบ สรุป: ระยะเวลาที่สายสะดือหลุดเมื่อเช็ดสะดือที่บ้านด้วยแอลกอฮอล์หรือไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อ สั้นกว่าและเป็นที่ยอมรับมากกว่าการเช็ดด้วยทริปเปิลดายส์ การเช็ดสะดือด้วยแอลกอฮอล์หรือการเช็ดสะดือให้แห้งโดยไม่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการดูแลสะดือทารกที่บ้าน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, July
ปีที่: 88 ฉบับที่ 7 หน้า 967-972
คำสำคัญ
Alcohol, Clean cord care, Time to cord separation, Triple dye, Umbilical cord care