ผลของดนตรีบำบัดความเจ็บปวด อาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดช่องท้อง
นาถอนงค์ น้อยน้ำคำ, วีระวัฒน์ นาสูงชน, อาริยา สอนบุญ*, เพ็ญศรี สอนภิรมย์
Faculty of Nursing, Mahasarakham University, Kanthrawichai District, Maha Sarakham44150, Thailand
บทคัดย่อ
                การผ่าตัดช่องท้องเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยมีทั้งความปวดและไม่สุขสบาย การบรรเทานอกจากให้ยาตามแผนการรักษา กิจกรรมการพยาบาลจะเป็นการเสริมการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม วิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อความปวด อาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องที่เข้ารักษาในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินความปวด แบบประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียน และแบบประเมินอาการท้องอืด เก็บข้อมูลหลังผ่าตัดโดยกลุ่มทดลองได้ฟังดนตรี 6 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 8 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทั้งสองกลุ่มประเมินความปวด อาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการท้องอืด หลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 24 และ 48 บันทึกจำนวนครั้งและชนิดของยาแก้ปวดที่ได้รับในช่วง 24-48 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความปวด อาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการท้องอืดหลังผ่าตัดช่องท้องน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มทดลองมีจำนวนครั้งของการได้รับยาแก้ปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
ที่มา
วารสารออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2552, July-September ปีที่: 28 ฉบับที่ 3 หน้า 321-327
คำสำคัญ
pain, Abdominal surgery, ความปวด, Music therapy, ดนตรีบำบัด, Abdominal distention, Nausea vomiting, การผ่าตัดช่องท้อง, อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาการท้องอืด