การศึกษาประสิทธิผลของน้ำลายเทียมจากว่านหางจระเข้ผสมไซลิทอลและฟลูออไรด์ในการป้องกันเหงือกอักเสบและอาหารปากแห้ง ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีและเคมีบำบัด
ธนเดช สินธุเสก, นวกมล สุริยันต์*, นุชลินดา เอี่ยมบุตรลบ, ปัจจัย เนื่องโคตะ, วรรณา ฉายอรุณ, สุมิตร เมตไตรย์
Prachatipat Hospital, Thanyaburi, Pathumthani Province 12120; Tel: 02-9048529; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบและสภาวะปากแห้งโดยการใช้นํ้าลายเทียมจากว่านหางจระเข้ผสมไซลิทอลและฟลูออไรด์ ในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีรักษาและได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดที่ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ธัญบุรีจำนวน 57 คน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 – มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยกลุ่มทดลองจำนวน 26 คน ได้รับนํ้าลายเทียมดังกล่าว และกลุ่มควบคุมจำนวน 31 คนได้รับนํ้าดื่ม ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) เพื่อใช้ในการทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า อาการปริมาณนํ้าลายน้อยและปัญหาการรับรสของกลุ่มทดลองมีปัญหาน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = .023 และ p = .043 ตามลำดับ) ส่วนปัญหาการกลืนและภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน (p = .164 และ p = .363 ตามลำดับ) กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีอัตราการพบเชื้อต่าง ๆ จากกระพุ้งแก้มและโคนลิ้น ดังนี้เคร็บเซลล่า นิวโมเนอี(Klebsiella pneumoniae)ร้อยละ 61.5 และ 46.1 ตามลำดับ พบเชื้อวิริแดนส์สเตร็บโตคอคไค (Viridans streptococci)ร้อยละ 23.1 และ 38.5 ตามลำดับ และพบเชื้อซูโดโมแนส เออรูจิโนซ่า (Pseudomonasaeruginosa) ร้อยละ 30.8 และ 15.4 ตามลำดับ สรุปว่านํ้าลายเทียมว่านหางจระเข้ผสมไซลิทอลและฟลูออไรด์มีประสิทธิผลในการใช้ลดปัญหาการมีนํ้าลายน้อย การรับรส และการมีปริมาณเชื้อของผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ ปี 2551, July-August ปีที่: 58 ฉบับที่ 3 หน้า 189-195
คำสำคัญ
Xerostomia, Aloevera, Artificial saliva, Dental caries