การป้องกันภาวะเสื่อมหน้าที่ของไตอย่างฉับพลันที่เกิดขึ้นจากการได้รับสารทึบรังสีโดยวิตามิน อี (แอลฟา โทโคฟีรอล): การศึกษาเบื้องต้นโดยการควบคุมแบบสุ่ม
ทวีเกียรติ วาสวกุล, สิทธิชัย อาชายินดี*, อนวัช เสริมสวรรค์, ไพบูลย์ โชตินพรัตน์ภัทรDivision of Cardiology, Department of Medicine, BMA Medical College and Vajira Hospital, Bangkok Thailand; Tel: 081-812-1095, 02-244-3000; Fax: 02-244-3475; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการป้องกันภาวะไตเสื่อมหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจของยาเอ็อะเซติลซิสเตอิน (N-acetylcysteine) ชนิดกินในระดับพาราโดท (paradote) และระดับมาตรฐาน (standard dose)รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบ prospective, open-labled, randomized controlled studyกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยในที่ต้องรับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจของภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดยศึกษาใน ผู้ป่วยที่มีระดับค่าครีแอทินินในเลือด (serum creatinine) ≥ 1.2 มล/ดล ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 จำนวน 137 รายวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยในที่ต้องรับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจและมีระดับค่าครีแอทินินในเลือด (serum creatinine) ≥ 1.2 มล/ดล และยินยอมเข้าร่วมโครงการได้รับการสุ่มคัดเลือกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มการศึกษาจำนวน 65 รายจะได้รับยา Nacetylcysteineชนิดกินในระดับพาราโดท (paradote) ในขนาด 70 มก./กก.ทุก 4 ชั่วโมง โดยเริ่มก่อนฉีดสี 6 ครั้ง (24 ชั่วโมง) และหลังฉีดสีอีก 12 ครั้ง (48 ชั่วโมง) ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 63 รายจะได้รับยา N-acetylycysteine ชนิดกินในขนาด 600 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง โดยเริ่มก่อนฉีดสี 2 ครั้ง (24 ชั่วโมง) และหลังฉีดสี 2 ครั้ง (48 ชั่วโมง) นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกรายจะได้รับสารน้ำในทุกกลุ่มเป็น 0.9% NSS ในอัตรา 1 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมตัววัดที่สำคัญ: ภาวะไตเสื่อมหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ contrast induced nephropathy (CIN) และระดับค่าครีแอทินินในเลือดก่อนที่จะทำการฉีดสี และหลังการทำการฉีดสีที่ 24 และ 48 ชั่วโมง ของการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณลักษณะทั่วไปที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงระดับค่าครีแอทินินในเลือดก่อนที่จะทำการฉีดสีและปริมาณสี contrast media ที่ใช้ผู้ป่วย 5 ราย เกิดภาวะเสื่อมหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจโดยแยกเป็น 1 รายใน 65 รายของกลุ่มการศึกษาคิดเป็น 1.53% กับ 4 รายใน 63 รายของกลุ่มควบคุม คิดเป็น 6.34% ซึ่งความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (relative risk = 0.26; 95% confidence interval [CI] 0.03 to 2.25; p-value = 0.24) แต่พบว่าในกลุ่มทดลองระดับค่าครีแอทินินในเลือดก่อนที่จะทำการฉีดสีจาก 1.67 มล./ดล. ลดลงหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจที่ 24 ชม.เป็น 1.50 มล./ดล. และที่ 48 ชม. เป็น 1.52 มล./ดล. ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.005) ส่วนในกลุ่มควบคุมระดับค่าครีแอทินินในเลือดก่อนที่จะทำการฉีดสีจาก 1.58 มล./ดล. ลดลงหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจที่ 24 ชม. เป็น 1.51 มล./ดล. ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.005) แต่ที่ 48 ชม.เป็น 1.57 มล./ดล. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยาทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเพียงอาการทางระบบทางเดินอาหารซึ่งไม่รุนแรงพบเพียง 3 รายใน 65 รายของกลุ่มการศึกษาคิดเป็น 3.1% กับ 2 รายใน 63 รายของกลุ่มควบคุม คิดเป็น 3.2% ซึ่งความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การให้ยาเอ็นอะเซติลซิสเตอิน (N-acetylycysteine) ชนิดกินในระดับพาราโดท (paradote) เทียบกับระดับมาตรฐาน(standard dose) เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับค่าครีแอทินินในเลือดที่ 48 ชม.หลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มพาราโดท (paradote) มีค่าลดลงเอเทียบกับก่อนการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่อย่างใด
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2552, April
ปีที่: 22 ฉบับที่ 2 หน้า 52-63
คำสำคัญ
Serum, (CIN), Contrast, creatinine, induced, N-acetylcysteine, nephropathy