ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีประยุกต์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
Areerat Suputtitada, จิรวรรณ ตันวัฒนะ*, ชฎิล สมรภูมิ, อนัน ศรีเกียรติขจร, เสก อักษรานุเคราะห์
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีประยุกต์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ในแง่ของความเจ็บปวดและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันรูปแบบการวิจัย: การวิจัยโดยการทดลอง, Randomized single blinded clinical trial วิธีการศึกษา: คัดเลือกผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจะได้รับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีประยุกต์ คือ วิธี progressive resistive exercise of quadriceps muscle โดยใช้ quadriceps board และถุงทราย (PRE) และกลุ่มทดลอง จะได้รับ isometric quadriceps exercise ชนิดไม่ใช้แรงต้านและให้ฝึกเองที่บ้าน โดยผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการทำ ultrasound ที่หัวเข่าในช่วง 2 สัปดาห์แรก, การสอนวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและสอนการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ hamstrings ใช้เวลาในการศึกษาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ประเมินผลอาการปวดและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันทุกสัปดาห์โดยใช้ Modified WOMAC Scale และ Global assessmentผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 42 คน พบว่าในกลุ่มที่ได้รับการออกกำลังกายด้วยวิธีประยุกต์ มีการลดลงของ WOMAC score และมี Global assessment ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ 1 ส่วนในกลุ่มที่ได้รับ isometric exercise มีการลดลงของ WOMAC score อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ 1 แต่มี Global assessment ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญในปลายสัปดาห์ที่ 2 และพบว่าน้ำหนักด้านทานเฉลี่ยที่ใช้เริ่มต้นการทำ PRE ข้างขวา 3.5 ปอนด์ ข้างซ้าย 3.75 ปอนด์ และน้ำหนักเฉลี่ยที่ผู้ป่วยสามารถยกเพิ่มขึ้นได้ในช่วง 3 วัน ข้างขวา 1.5 ปอนด์ ข้างซ้าย 1.4 ปอนด์สรุปผล: การรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง โดยใช้ PRE quadriceps หรือ isometric quadriceps exercise ร่วมกับการทำ ultrasound,  การสอนการปฏิบัติตัดที่เหมาะสม และสอนการยืดกล้ามเนื้อ hamstrings พบว่าทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเขาลดลงและมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ 1ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2545, May-August ปีที่: 12 ฉบับที่ 1 หน้า 32-43
คำสำคัญ
Knee, OA, PRE, Quadriceps, ออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา, โรคข้อเข่าเสื่อม