การศึกษานำร่องประสิทธิผลการฝึกเดินด้วยเครื่อง Lokomat ต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
กุสุมา คุณาวงษ์กฤต, นัทธมน ตั้งพลังกุล, ประเสริฐพน จันทร, ยงชัย นิละนนท์, วิษณุ กัมทรทิพย์*, สุทธิพล อุดม พันธุรัก, เกศธำรง ตันตยาคม
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการฝึกเดินโดยใช้เครื่อง LokomatÒ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูรูปแบบการวิจัย: การศึกษานำร่องแบบสุ่ม โดยการพรางผู้ประเมินสถานที่ทำการวิจัย: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลวิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู 12 ราย (ชาย 8 ราย และหญิง 4 ราย อายุเฉลี่ย 53.1 ปี) ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองฝึกเดินโดยใช้เครื่อง LokomatÒ และกายภาพบำบัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกกายภาพบำบัดอย่างเดียว 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึกประเมินระดับความสามารถเดินด้วย Functional Ambulatory Category (FAC), การทรงตัวด้วย Berg Balance Scale, กำลังกล้ามเนื้อ และอาการเกร็งของกล้ามเนื้อขาด้วย Modified Ashworth Scale เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Mann-Whitney U-test, Chi-Square test for trend และ Fisher’s exact test โดยถือนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p < 0.05.ผลการศึกษา: พบว่าค่ามัธยฐานของระดับความสามารถเดิน FAC ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นจากระดับ 2 เป็นระดับ 3 แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม (ระดับ 2) (p = 0.003) ส่วนกำลังกล้ามเนื้อขาและการทรงตัวหลังการฝึกของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น (p = 0.025 และ p = 0.043) แต่ในกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลง (p=0.62 และ p=0.062) ส่วนภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งทั้งสองกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลงสรุป: การฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเดินด้วยเครื่อง LokomatÒ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดในระยะฟื้นฟู ทำให้ระดับความสามารถเดิน การทรงตัวและกำลังกล้ามเนื้อขาดีขึ้นกว่าการทำกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมอย่างเดียว
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2553, November ปีที่: 18 ฉบับที่ 3 หน้า 78-84
คำสำคัญ
Stroke, Rehabilitation, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, Gait, Hemiplegia, traing, การฝึกเดิน, อัมพาตครึ่งซีก