การศึกษาความน่าเชื่อถือ และความแม่นตรงของเครื่องมือ แบบประเมิน Montgomery and Asberg Depression Rating Scale (MADRS) ฉบับภาษาไทย: แบบประเมินเพื่อวินิจฉัยและติดตามการเปลี่ยนแปลงโรคซึมเศร้าเปรียบเทียบกับ Diagnosis and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM) และ Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD)
ศิริณา ศรัทธาพิสิฐ, นัยนา โปษยาอนุวัตร์, ชดาพิมพ์ ศศลักษณานนท์, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, ศุภโชค สิงหกันต์Division of Psychiatry, Saraburi Hospital, Saraburi 18000, Thailand. Phone: 089-133-8079, Fax: 036-211-624, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความแม่น และความน่าเชื่อถือ ของการใช้แบบประเมินที่เรียกว่า Montgomery and Asberg Depression Rating Scale (MADRS) ฉบับภาษาไทยโดย เปรียบเทียบกับแบบประเมินที่เรียกว่า DSM-IV TR criteria และ Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD)วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากแผนกผู้ป่วยนอก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้แบบประเมิน MADRS ฉบับภาษาไทย เพื่อทดสอบหาความแม่น โดยผู ้เชี่ยวชาญ ทางจิตเวชศาสตร์และทางสังคมศาสตร์ ทำการประเมินในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 13 รายกับกลุ่มควบคุม 27 ราย และเปรียบเทียบกับ Global Assessment Scale (GAS) และค่าคะแนนของ HRSD ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการรักษา ส่วนการทดสอบหาความน่าเชื่อถือนั้นหาค่าInter-rater และ Intra-rater reliability และค่า Internal consistencyผลการศึกษา: ความแม่นในปริมาณ มีค่า > 0.5 ยกเว้นเรื่องความตึงเครียดภายใน, ความอ่อนเพลีย, ความไม่สามารถที่จะรู้สึก ความแม่นในคำเฉพาะ มีค่า sensitivity, specificity, PPV & NPV = 100 ทั้งหมด และ เมื่อเปรียบเทียบกับHRSD ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน, ค่า sensitive to change พบว่ามีค่า Pearson correlation coefficient = -0.49 (p-value = 0.11) และ 0.679 (p-value = 0.025) เมื่อเปรียบเทียบกับ DSM-IV TR และ HRSD ตามลำดับ ค่า Inter-rater และ Intra-rater reliability ของแบบประเมินมีค่า ICC = 0.99 และ 0.99 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง DSM-IV TR และ HRSD ค่า Internal consistency ของแบบประเมินมีค่า Cronbach’s alpha = 0.96 และ 0.92 เมื่อเปรียบเทียบกับ DSM-IV TR และ HRSD ตามลำดับสรุป: พบว่าแบบประเมิน MADRS ฉบับภาษาไทยนี้ มีความแม่นและความน่าเชื่อถืออยู่ในเกณฑ์สูงมากและยืนยันว่าสามารถนำไปใช้ วินิจฉัยโรคซึมเศร้าได้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, March
ปีที่: 90 ฉบับที่ 3 หน้า 524-531
คำสำคัญ
and, Asberg, Depression, DSM-IV, function, Montgomery, Rating, Scale-Thai, Social, TR