การศึกษาเปรียบเทียบผลแก้ปวด และอาการข้างเคียงของการรับประทานยา Rofecoxib การฉี ดยา Morphine เข้าไขสันหลังสำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดบริเวณทวารหนักใน 24 ชั่วโมงแรก
ปกรณ์ อุรุโสภณ*, พรอรุณ สิริโชติวิทยากร, วัชริน สินธวานนท์, สมรัตน์ จารุลักษณานันท์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและอาการข้างเคียงของยา Rofecoxib กับการฉีด Morphine เข้าไขสันหลัง สำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดบริเวณทวารหนักประเภทโรงพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย การศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม โดยมีกลุ่มควบคุมการคัดเลือกผู้ป่วย ผู้ป่วย 120 รายที ่มารับการผ่าตัด Hemorrhoidectomy หรือ Fistulectomy ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มี ASA physical status I และ IIวิธีการทำวิจัย กลุ่มควบคุม C จะได้รับยาชา 0.5 % hyperbaric bupivacaine 1.2 มล. ฉีดเข้าไขสันหลังสำหรับการผ่าตัด กลุ่ม R จะได้รับประทานยา Rofecoxib 50 มก. ในตอนเช้าก่อนผ่าตัดร่วมไปกับการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังและกลุ่ม M จะได้รับยา Morphine 0.15 มก. ผสมไปกับยาชาฉีดเข้าไขสันหลัง บันทึกอาการปวดหลังผ่าตัดที่เวลา 2, 6 และ 24 ชั่วโมง โดย Verbal Numeric Scale (VNS) และบันทึกอาการข้างเคียง คลื่นไส้อาเจียน อาการคันผลการทดลอง ที่ 6 ชั่วโมง กลุ่ม M มี VNS น้อยกว่ากลุ่ม C และที่ 24 ชั่วโมง กลุ่ม M และ R มี VNS น้อยกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนั้นพบอาการข้างเคียงทุกประเภทในกลุ่ม C และ R น้อยกว่ากลุ่ม M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ายา Rofecoxib สามารถลดอาการปวดแผลหลังผ่าตัดทางทวารหนักได้ใกล้เคียงกับการผสมยา Morphine ฉีดเข้าไขสันหลังที่เวลา 24 ชั่วโมง และพบว่ามีอาการข้างเคียงน้อยกว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทางคลินิก
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2547, January ปีที่: 48 ฉบับที่ 1 หน้า 23-30
คำสำคัญ
การฉีดยา, การระงับปวดหลังผ่าตัด, เข้าในน้ำไขสันหลัง, intrathecal morphine, Post operative pain, COX-2 selective inhibitors