ผลการเสริมสารครีเอทีนต่อน้ำหนักตัว และสมรรถภาพแอนแอโรบิคในนักกีฬาวิลล์แชร์เรสซิ่งทีมชาติไทย
จักรพงษ์ ขาวถิ่น*, ประทุม ม่วงมี, วิไล อโนมะศิริ, สมพล สงวนรังศิริกุลFaculty of Sports Science, Kasetsart University, Bangkok 10903, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวั ตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเสริมสารครีเอทีน และสารหลอกที่มีผลต่อน้ำหนักตัว และสมรรถภาพแอนแอโรบิคในนักกีฬาวิลล์แชร์เรสซิ่งทีมชาติไทยกลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาวิลล์แชร์เรสซิ่งที่มีสุขภาพดี จำนวน 12 ราย อายุระหว่าง 23-30 ปีรูปแบบการวิจัย รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบไขว้ระเบียบวิธีการวิจัย รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบไขว้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงการวิจัย ในแต่ละช่วงประกอบด้วยการเสริมสารเป็นระยะเวลา 7 วันคั่นด้วยช่วงขับออกของสารเป็นระยะเวลา 21 วัน รูปแบบของการเสริมสารครีเอทีนช่วงสั้นประกอบด้วยการเสริมสารครีเอทีนปริมาณ 20 กรัมต่อวันเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 5 วัน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่หนึ่งจะได้รับสารครีเอทีนในปริมาณครั้งละ 5 กรัมและผงละลายน้ำส้มปริมาณ 15 กรัมในช่วงแรกของการศึกษาและได้รับสารหลอกผงละลายน้ำส้มปริมาณ 15 กรัมในช่วงที่สองของการศึกษา ส่วนกลุ่มที่สองจะได้รับสารที่ตรงกันข้ามกับกลุ่มที่หนึ่งในแต่ละช่วงของการศึกษาทำการทดสอบสมรรถภาพต่าง ๆ ประกอบด้วย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ประเมินมรรถภาพแอนแอโรบิคของแขนด้วยวิธีวินเกท ทั้งหมด 4 ช่วง ของการศึกษาทั้งสิ้น 5 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบในวันที่ 1 และ 7 ของการเสริมสารในทั้ง 2 ช่วงของการศึกษาผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าการเสริมสารครีเอทีนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อน้ำหนักตัว ในช่วงการเสริมสารครีเอทีนเปรียบเทียบกับสารหลอกไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อสมรรถภาพแอนแอโรบิคในกำลังสูงสุด กำลังแบบแอนแอโรบิค ปริมาณสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค อัตราความเมื่อยล้า ดัชนีความเมื่อยล้า อย่างไรก็ตามมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในค่าเฉลี่ยกำลังเปรียบเทียบระหว่างภายหลังการเสริมสารครีเอทีนและภายหลังการเสริ มสารหลอก (P = 0.04)ผลสรุป จากผลการศึกษาสรุปว่าการเสริมสารครีเอทีนช่วงสั้น (20 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 5 วัน) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อน้ำหนักตัว และสมรรถภาพแอนแอโรบิคของแขนด้วยวิธีวินเกท (ยกเว้นมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกำลัง) ในนักกีฬาวิลล์แชร์เรสซิ่งทีมชาติไทย
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2550, March
ปีที่: 51 ฉบับที่ 3 หน้า 127-138
คำสำคัญ
การเสริมสารครีเอทีนช่วงสั้น, นักกีฬาวิลล์แชร์, สมรรถภาพแอนแอโรบิค, Short-term creatine supplementation, Anaerobic performance, Wheelchair athletes