การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของนาลบูฟีนออนแดนซีตรอน และทรามาดอลในการรักษาอาการสั่นภายหลังได้รับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เดชา ทำดี*, สมรัตน์ จารุลักษณานันท์, อรนุช เกี่ยวข้องDepartment of Public Health Nursing, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Chiang Mai Province, Thailand
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและเหตุผล: การให้ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลังเป็นที่ยอมรับว่ามีความปลอดภัย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถระงับความรู้สึกได้เร็ว ใช้ยาชาปริมาณน้อยอีกทั้งยังสามารถให้มอร์ฟีนในน้ำไขสันหลัง ซึ่งช่วยระงับอาการปวดภายหลังการผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้องได้เป็นระยะเวลานาน แต่อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น คือผู้ป่วยจะมี อาการสั่นภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าช่องไขสันหลังวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ยานาลบูฟีน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ยาออนแดนซีตรอน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ยาทรามาดอล 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาอาการสั่นภายหลังได้รับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องรูปแบบการทดลอง: การศึกษาเปรียบเทียบโดยการสุ่มและปกปิดสองทางสถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขนาด 1,500 เตียงวิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยหลังการผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้องที่ได้รับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลัง ที่มีอาการสั่น ระดับปานกลางขึ้นไป 225 คน โดยการสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับยานาลบูฟีน 0.05 มก./กก. กลุ่มที่ 2 ได้รับยา ออนแดนซีตรอน 0.1 มก./กก. กลุ่มที่ 3 ได้รับยาทรามาดอล 0.5 มก./กก. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำประเมินผลการรักษาอาการสั่นและผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ 15 นาทีภายหลังการบริหารยา และวิเคราะห์ข้อมูลผลการรักษาโดยใช้สถิติไคสแควร์และ Kruskal-Wallis และการปรับค่าแบบ Bonferroni สำหรับการเปรียบเทียบหลายครั้ง ค่า p-value < 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษา: ยานาลบูฟีน ยาออนแดนซีตรอน ยาทรามาดอล ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำมีประสิทธิผลในการรักษาอาการสั่นในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ได้รับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังเท่ากับ 81.3 %, 62.2 % และ 88.2 % ตามลำดับ (p-value < 0.001) ประสิ ทธิผลของยานาลบูฟีนสูงกว่าออนแดนซีตรอน, ทรามาดอลสูงกว่าออนแดนซีตรอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.009 และ p-value < 0.001ตามลำดับ) ประสิทธิผลของยานาลบูฟีนและยาทรามาดอลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.243) โดยมีอัตราการเกิดการสั่นซ้ำภายใน 4 ชั่วโมงหลังการรักษาครั้งแรกสำเร็จ ของ ยานาลบูฟีน ยาออนแดนซีตรอน และยาทรามาดอล เท่ากับ 14.8 %, 13.0 % และ 13.4 % ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกัน (p value = 0.963) สำหรับอัตราการเกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ ได้ แก่ อาการคลื่นไส้หรืออาเจียน อาการปวด อาการคัน และอาการมึนงง หลังการฉีดยาพบน้อยและไม่รุนแรง อีกทั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: ยานาลบูฟีน 0.05มก./กก. และยาทรามาดอล 0.5 มก/กก. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพสู งกว่ายาออนแดนซีตรอน 0.1 มก./กก ในการรักษาอาการสั่นภายหลังได้รับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดทำคลอดทางหน้าท้อง และมีอัตราการเกิดอาการสั่นซ้ำต่ำ โดยเกิดอาการข้างเคียงในอัตราต่ำและไม่รุนแรง
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2549, December
ปีที่: 50 ฉบับที่ 12 หน้า 851-862
คำสำคัญ
Tramadol, Shivering, ondansetron, Nalbuphine, ทรามาดอล, นาลบูฟีน, ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, มอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลัง, ออนแดนซีตรอน, อาการสั่น, Cesarean delivery, intrathecal morphine