โปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลทีบ้านเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
กนกพร สุคำวัง, ทศพร คำผลศิริ*, ลินจง โปธิบาล, ศิริรัตน์ ปานอุทัย
Medical Nursing Department, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Chiang Mai province 50200
บทคัดย่อ
บทนำ: ผลกระทบจากหลอดเลือดสมองทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองลดลง โปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลอาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่รอดชีวิตในชุมชนได้วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับคุณภาพชีวิต ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความซึมเศร้า และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวของผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลที่บ้านและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมสถานที่ที่ทำการศึกษา: ในชุมชนรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบซ้ำหลายครั้งผู้ป่วยที่ได้ทำการศึกษา: ผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ในช่วง 1 ปีหลังออกจากโรงพยาบาลวิธีการศึกษา: ผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 28 ราย กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมในโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้ และให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและครอบครัวที่บ้าน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูลทำก่อนให้การพยาบาล หลังให้การพยาบาล 6 สัปดาห์และ 12 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย 2) ดัชนีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของบาร์เทล 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้าสำหรับผู้สูงอายุไทย 4) แบบวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและ 5) แบบวัดผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองเพื่อประเมินคุณภาพชีวิตการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติ บรรยายและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่ในกลุ่มควบคุมไม่เปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 12 ส่วนความซึมเศร้านั้นพบว่ากลุ่มทดลองมีระดับความซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดทุกช่วงของการวัด แต่กลุ่มควบคุมระดับความซึมเศร้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวของทั้งสองกลุ่มนั้นพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญตลอดทุกช่วงของการวัด ในขณะที่คุณภาพชีวิตของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่กลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่า ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างระหว่างความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความซึมเศร้า การรับรู้ การสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว และคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 12วิจารณ์และสรุป: การที่กลุ่มทดลองมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน มีการรับรู้ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความซึมเศร้าลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม แสดงเห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลที่บ้าน ดังนั้นควรมีการติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวและในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2549, October ปีที่: 50 ฉบับที่ 10 หน้า 707-725
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, ผูทีรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง, โปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลทีบ้าน, Quality of life, Home-based nursing intervention, Stroke survivors, ผู้ทีรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง