การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยวิธีการใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปและฟิล์มโลหิตชนิดหนา
Thosporn Vimolket*, บดี ธนะมั่น, ยุทธพงศ์ หมื่นราษฎร์
Department of Preventive Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลของการเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยวิธี การใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปและฟิล์มโลหิตชนิดหนาสถานที่ทำการศึกษา: ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 18 แม่สอดรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาวิธีการศึกษา: เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งออกเป็นหน่วยงานต้นทุนชั่วคราวและหน่วยงานรับต้นทุน ใช้วิธีการกระจายต้นทุนแบบการกระจายโดยตรงและการกระจายต้นทุนแบบการกระจายตามลำดับชั้นผลการศึกษา: จำนวนที่ตรวจทั้งหมด 9,114 รายพบว่าให้ผลบวก 1,878 (20.81 %) ราย ด้วยชุดน้ำยาสำเร็จรูป และ 2,725 (29.90 %) ราย ให้ผลบวกด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนาพบว่าต้นทุนรวมทั้งหมดของการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยวิธีการใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปเท่ากับ 2,771,784.77 บาท โดยเป็นต้นทุนทางตรงร้อยละ 87.75 และต้นทุนรวมทั้งหมดของการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนาเท่ากับ 2,226,032.57 บาท โดยเป็นต้นทุนทางตรงร้อยละ 84.26 ต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจด้วยชุดน้ำยาสำเร็จรูป เท่ากับ 304.12 บาท ต่อรายและต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อ เท่ากับ 1,475.92 บาทต่อราย ส่วนต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนา เท่ากับ 244.24 บาทต่อราย และต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อเท่ากับ 816.89 บาทต่อราย สำหรับ ต้นทุน - ประสิทธิผลพบว่าการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนามีประสิทธิภาพสูงสุด (ต้นทุน – ประสิทธิผล ต่ำสุด ) โดยมีต้นทุน – ประสิทธิผลเท่ากับ 816.89 บาท ส่วนการเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยวิธีการใช้ชุ ดน้ำยาสำเร็จรูปมีต้นทุน-ประสิทธิผลเท่ากับ 1,475.92 บาท เมื่อวิเคราะห์ความไวของ ต้นทุน – ประสิทธิผล พบว่า ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการตรวจพบเชื้อมาลาเรียจากสถานการณ์ปัจจุบันทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ของวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้ง 2 วิธี ก็ตาม วิธีการตรวจวินิจฉัยด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนาก็ยังคงมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่มีแนวโน้มว่าหากอัตราการตรวจพบเชื้อมาลาเรีย ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นก็จะทำให้ประสิทธิภาพของวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้ง 2 วิธี ใกล้เคียงกันมากยิ่งขึ้นวิจารและสรุป: ผลการวิจัยจากการศึกษานี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้บริหารนำไปประกอบการวางแผนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกและบริหารการใช้ทรัพยากร ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2549, September ปีที่: 50 ฉบับที่ 9 หน้า 641-649
คำสำคัญ
malaria, Dipstick, ชุดน้ำยาสำเร็จรูป, ต้นทุนประสิทธิผล, ฟิล์มโลหิตชนิดหนา, มาลาเรีย, Cost – effectiveness, Thick blood film