การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการแก้ปวดของยาโรฟิคอกซิบและยาวาลดิคอกซิบภายหลังการผ่าตัดบริเวณเต้านม
ปกรณ์ อุรุโสภณ, ปิ่น ศรีประจิตติชัย*, วัชริน สินธวานนท์, ศุภลักษณ์ วสันต์ธนารักษ์Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการแก้ปวดจากการผ่าตัดบริเวณเต้านมของยาโรฟิคอกซิบ (rofecoxib) และยาวาลดิคอกซิบ (valdecoxib)รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบทดลอง มีการควบคุมและสุ่มตัวอย่างวัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้ทำในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณเต้านม 107 คน อายุระหว่าง 18 - 65 ปี และ physical status 1-2 ได้ลงนามในใบยินยอมร่วมมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้ รับการแบ่งโดยการสุ่มให้ได้รับยาโรฟิคอกซิบ ขนาด 25 มิลลิกรัม 2 เม็ด หรือยาวาลดิคอกซิบ ขนาด20 มิลลิกรัม 2 เม็ด อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยได้รับประทานยาครั้งแรกก่อนเริ่มผ่าตัด 1 ชั่วโมง และ 12 ชั่วโมงภายหลังได้รับประทานยาครั้งแรก ผู้ป่วยทุกรายได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปด้วยชนิดและขนาดยาระงับความรู้สึกที่คำนวณตามน้ำหนักตัวตามที่กำหนดไว้ ระงับปวดภายหลังการผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงด้วยยา meperidine ขนาด 0.5 ม.ก. ต่อก.ก. ทางหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง หากผู้ป่วยร้องขอ บันทึกขนาดยา meperidine ที่ ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับทั้งสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง จำนวนผู้ป่วยที่ร้องขอยาแก้ปวด และความรุนแรงของความปวดด้วย 0-10 Visual numeric pain score (VNS) ที่ 2, 6 และ 24 ชั่วโมงภายหลังผ่าตัดเสร็จ ทำการบันทึกความพึงพอใจด้วย 0-10 Visual numeric satisfaction score และผลข้างเคียงของยา เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และแขนหรือขาบวมผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับยาโรฟิคอกซิบ และยาวาลดิคอกซิบมีจำนวน 52 และ 54 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วย 1 รายต้องออกจากการศึกษาเนื่องจากได้รับการผ่าตัดอีกครั้งจากมีก้อนเลือดที่แผลผ่าตัด จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยา meperidine ในกลุ่มที่ได้รับยาโรฟิคอกซิบและยาวาลดิคอกซิบเท่ากับ 30 และ 36 รายตามลำดับ ขนาดยา meperidine เฉลี่ยของกลุ่มที่ได้รับยาโรฟิคอกซิบ และยาวาลดิคอกซิบเท่ากับ 25.87 ± 26.30 และ 23.52 ± 20.27 มิลลิกรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความรุนแรงของความปวดที่ 2, 6 และ 24 ชั่วโมง ระหว่างสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นกันสรุป: ประสิทธิผลการแก้ปวดภายหลังการผ่าตัดบริเวณเต้านมระหว่างยาโรฟิคอกซิบ และยาวาลดิคอกซิบไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2548, May
ปีที่: 49 ฉบับที่ 5 หน้า 281-288
คำสำคัญ
การผ่าตัดบริเวณเต้านม, ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, NSAIDs: COX-2 inhibitor, Breast surgery