การเปลี่ยนแปลงค่าความโค้งกระจกตาภายหลังการลงแผลผ่าตัดต้อกระจกแบบ scleral tunnel และ clear cornea
วิชัย หาญบรรจงDepartment of Ophthalmology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงค่าความโค้งกระจกตาจากการลงแผลผ่าตัดต้อกระจกแบบ scleral tunnel เปรียบเทียบกับแบบ clear corneaรูปแบบการวิจัย: Experimental designกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยต้อกระจกจำนวน 200 คน ที่มารับการรักษาที่ภาควิชาจักษุวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2541 ถึงเดือนธันวาคม 2542วิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งผู้ป่วยต้อกระจกทั้ง 200 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธี random sampling กลุ่มที่ 1 จำนวน 100 คน ลงแผลผ่าตัดแบบ scleral tunnel กลุ่มที่ 2 จำนวน 100 คน ลงแผลผ่าตัดแบบ clear cornea ศึกษาเปรียบเทียบค่าความโค้งกระจกตาที่เปลี่ยนแปลงไปหลังผ่าตัด 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มตัววัดที่สำคัญ: ค่าความโค้งกระจกตาที่เปลี่ยนแปลงไปหลังผ่าตัดผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการลงแผลผ่าตัดแบบ scleral tunnel incision มีค่า polar value ของค่าความโค้งกระจกตาที่เปลี่ยนแปลงไปหลังผ่าตัดต้อกระจกในช่วง -0.01 ถึง -0.20 จำนวน 69 คน รองลงมาจะมีค่า polar value ในช่วง -0.51 ถึง -1.00 จำนวน 30 คน และไม่เปลี่ยนแปลงจำนวน 1 คน ส่วนผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับการลงแผลผ่าตัดแบบ clear cornea incision จะมีค่า polar value ในช่วง -0.01 ถึง -0.50 และ -0.51 ถึง -1.00 จำนวนใกล้เคียงกัน คือจำนวน 35 คน และ 36 คน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบค่า polar value ในช่วง -1.01 ถึง -2.00 อีก 29 คน ค่าเฉลี่ยของ polar value ของกลุ่มที่ลงแผลผ่าตัดแบบ scleral tunnel incision และ clear cornea incision = -0.38±0.23 และ -0.76 ± 0.47 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01)สรุป: การลงแผลผ่าตัดต้อกระจกแบบ clear cornea incision สามารถลดค่าความโค้งกระจกตาหลังผ่าตัดได้มากกว่าการลงแผลผ่าตัดแบบ scleral tunnel incision
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2545, January-April
ปีที่: 46 ฉบับที่ 1 หน้า 1-7
คำสำคัญ
cataract, Postoperative keratometric change, small incision