การศึกษาระดับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองของผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงที่ได้รับการรักษาด้วยแมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ เปรียบเทียบระหว่างวิธีให้ครั้งแรก 4 กรัม และ 6 กรัม
มาลา ตรีวัชรีกร, สุรวุฒิ ลีฬหะกร*
Department of Obstetrics and Gynecology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองของผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง ที่ได้รับการรักษาด้วยแมกนีเซียมซัลเฟตเปรียบเทียบระหว่างวิธีให้ครั้งแรก 4 กรัม และ 6 กรัม แล้วให้ต่อในอัตรา 2 กรัมต่อชั่วโมงเหมือนกัน ว่าผลการรักษามีความแตกต่างกันหรือไม่ และถึงระดับการรักษาแตกต่างกันหรือไม่รูปแบบวิจัย: Prospective double blinded randomized controlled trialสถานที่ทำวิจัย: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และกลุ่มงานชันสูตรโรคกลาง วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ในช่วง 1 มีนาคม 2543 – 1 ตุลาคม 2544กลุ่มตัวอย่าง: สตรีตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง จำนวน 35 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาครั้งแรก 4 กรัม จำนวน 16 ราย กลุ่มที่ได้ยาครั้งแรก 6 กรัม จำนวน 19 รายวิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มโดยวิธี stratified block randomization เพื่อให้ยา กลุ่มหนึ่งได้ยาครั้งแรก 4 กรัมทางหลอดเลือดดำ อีกกลุ่มได้ยาครั้งแรก 6 กรัม โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับยาต่อเนื่องเหมือนกันคือ  2 กรัม ต่อชั่วโมง จนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด เจาะเลือดผู้ป่วยส่งตรวจหารับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองก่อนให้ยา หลังให้ยา 1, 4, 8 ชั่วโมง กรณีที่ยังไม่คลอด  และหลังคลอด 6 ชั่วโมง สังเกตลักษณะทางคลินิก และเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและทารกเพื่อเปรียบเทียบกันตัววัดที่สำคัญ: ระดับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองของผู้ป่วยผลการวิจัย: ระดับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองหลังให้ยา 1 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้ยาครั้งแรก 6 กรัม สูงกว่าในกลุ่มที่ได้ยาครั้งแรก 4 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.40 ± 0.26 mg/dl vs 3.73 ± 0.38 mg/dl, p-value = 0.011) แต่ระดับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองหลังให้ยา 4, 8 ชั่วโมงและหลังคลอด 6 ชั่วโมง ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบโอกาสที่ระดับการรักษา พบว่า หลังให้ยา 1 ชั่วโมง กลุ่มที่ได้ยาครั้งแรก 6 กรัม ระดัยยาถึงระดับการรักษามากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาครั้งแรก 4 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (26.3% vs 0%, p-value = 0.049) แต่ที่ 4, 8 ชั่วโมงหลังให้ยาและหลังคลอด 6 ชั่วโมง โอกาสถึงระดับการรักษาของทั้งสองกลุ่มม่ความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจทุกครั้งหลังให้ยา พบว่ากลุ่มที่ได้ยาครั้งแรก 6 กรัม มีโอกาสที่ระดับยาถึงระดับการรักษามากกว่ากล่าที่ได้ยาครั้งแรก 4 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (43.3% vs 10.4%, p-value = 0.0002) ผลต่อมารดาและทากรในของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การให้แมกนีเซียมซัลเฟตโดยวิธีให้ครั้งแรก 6 กรัม ทำให้ระดับแมกนีเซียมในน้ำเหลืองใน 1 ชั่วโมงแรก สูงกว่าและถึงระดับการรักษามากกว่า วิธีให้ครั้งแรก 4 กรัม และวิธีให้ครั้งแรก 6 กรัมมีโอกาสที่ระดับยาตลอดการรักษาถึงระดับการรักษาได้มากกว่าวิธีให้ครั้งแรก 4 กรัม
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2546, May-August ปีที่: 47 ฉบับที่ 2 หน้า 103-112
คำสำคัญ
Severe preeclampsia, Magnesium sulfate, Serum magnesium level