คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนได้
นิตยา ลาภเจริญวงศ์, วิจิตรา กุสุมภ์*
Kuakarun College of Nursing
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดแทนไต โดยการฟอกเลือด การล้างช่องท้องถาวรและการปลูกถ่ายไตรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาสถานที่ทำการวิจัย: หน่วยไตเทียม และคลินิกโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลภูมิพล และมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทยกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 150 คน ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 50 คน คือกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือด กลุ่มล้างช่องท้องถาวร และกลุ่มปลูกถ่ายไตวิธีดำเนินการวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดแทนไต ซึ่งดัดแปลงมาจากกรอบแนวคิดของ Zhan ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้านคือ1)      ด้านความพึงพอใจในชีวิต2)      ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย3)      ด้านอัตมโนทัศน์4)      ด้านสังคมและเศรษฐกิจ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2545 ถึงธันวาคม 2546ตัววัดที่สำคัญ: ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน one way ANOVA และทดสอบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตรายคู่ของแต่ละกลุ่มโดยวิธี Sheffeผลการวิจัย: 1.       ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตมีคุณภาพชีวิตรายด้านอยู่ในระดับดี คือ ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ส่วนที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความพึงพอใจในชีวิตและด้านอัตมโนทัศน์ ส่วนคุณภาพชีวิตโดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกเป็นรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายไต คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ส่วนกลุ่มฟอกเลือและกลุ่มล้างช่องท้องถาวรคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง2.       เปรียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตรายด้าน ได้แก่ ในด้านความพึงพอใจในชีวิต ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ของกลุ่มฟอกเลือด ล้างช่องท้องถาวรและปลูกถ่ายไตพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนด้านสังคมและเศรษฐกิจไม่มีความแตกต่างกัน และเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Sheffe พบว่าคุณภาพชีวิตด้านความพึงพอใจ ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย และด้านอัตมโนทัศน์ของกลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายไต ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือด ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับกลุ่มที่ได้รับการล้างช่องท้องถาวร มีคุณภาพชีวิตด้านอัตมโนทัศน์ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือด ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.053.       เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตโดยรวมของทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Sheffe พบว่ากลุ่มปลูกถ่ายไตมีคุณภาพชีวิตดีกว่าทั้งกลุ่มฟอกเลือดและกลุ่มล้างช่องท้องถาวร ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05สรุป: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างคุณภาพชีวิตรายด้านพบว่ากลุ่มที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดและการล้างช่องท้องถาวร ยกเว้นด้านสังคมและเศรษฐกิจของทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน ด้านอัตมโนทัศน์ของกลุ่มที่ได้รับการล้างช่องท้องถาวรดีกว่ากลุ่มฟอกเลือด คุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มปลูกถ่ายไตดีกว่ากลุ่มฟอกเลือดและล้างช่องท้องถาวร ส่วนกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดและกลุ่มที่ได้รับการล้างช่องท้องถาวรมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2547, May-August ปีที่: 48 ฉบับที่ 2 หน้า 107-115
คำสำคัญ
Hemodialysis, CAPD, Quality of life, ESRD patients, Various renal replacement therapies, Kidney transplantation