ภาวะสุขภาพของประชากรที่เสพพืชกระท่อม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บุญศิริ จันศิริมงคล*, ปราณี เชษขุนทด, ปริศนา ทวีทอง, พรประไพ แขกเต้า, รัตนา เหล่าปิยะสกุล, วันทนา ทิพย์มณเฑียร, วันลาภ เหรียญโมรา, สุพัตรา บัวทอง, เสาวลักษณ์ ยิ้มเยื้อน, โกศลจิต หลวงบำรุง
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ราชนครินทร์ 298 ถนนรามาธิบดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจที่มีต่อประชากรที่เสพพืชกระท่อมวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างได้จากการสัมภาษณ์ประชากรแบบสุ่มในเขตอำเภอพุนพิน ที่ยังใช้กระท่อมในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 386 คน ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเสพ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจในระหว่างเสพและหลังจากหยุดเสพ และแบบวัดภาวะสุขภาพ GHQ 28 ฉบับภาษาไทย และแบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREFผลการศึกษา พบว่าร้อยละ 97.9 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.45 ปี และร้อยละ 96.1 มีงานทำส่วนใหญ่มีอาชีพใช้แรงงาน คือ ทำสวนยาง และทำสวน ประชากรร้อยละ 52.8 เริ่มใช้กระท่อมเพื่อให้ทำงานได้มากและสู้แดด และใช้ทุกวัน (ร้อยละ 73.8) ผลของกระท่อมต่อร่างกายและจิตใจ คือ รู้สึกกระฉับกระเฉงและขยัน อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง หายปวดเมื่อยหลังจากเสพ หลังเสพแล้วรู้สึกคลายกังวล คลายเครียด และเบื่ออาหาร เมื่อหยุดเสพจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ หาวนอน รู้สึกเหนื่อย ง่วงนอนและไม่มีแรง รู้สึกกังวล เครียด กระสับกระส่าย หงุดหงิด รู้สึกขี้เกียจ และมีปัญหาในการนอนหลับ อาการขาดยา (withdrawal symptoms) จะคงอยู่ประมาณ 7 วันหลังหยุดเสพ พบว่าร้อยละ 98.7 มีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดี และส่วนใหญ่ร้อยละ 94.6 ไม่มีปัญหาทางกฎหมายอันเนื่องมาจากการใช้กระท่อสรุป แม้ว่าประชากรในการศึกษานี้มีภาวะสุขภาพกายและจิตใจเกณฑ์ปกติ แต่การรายงานถึงอาการขาดยาที่เกิดหลังจากการหยุดเสพ แสดงให้เห็นว่ากระท่อมมีผลด้านลบต่อร่างกาย การจัดให้กระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกและใช้ได้โดยถูกกฏหมายจึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาให้รอบคอบ
ที่มา
วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ ปี 2549, July-September ปีที่: 20 ฉบับที่ 4 หน้า 12-23
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, ภาวะสุขภาพ, กระท่อม, อาการขาดยา