การเสริมไข่ 3 ฟองต่อสัปดาห์ช่วยลดปัญหาขาดโปรตีนให้กับเด็กไทยวัยประถมในเขตชนบท
กรภัทร มยุระสาคร*, ประพันธ์พิศ สิตภาหุล, พรรณอร หงษ์โต
Department of Social Medicine, Samutsakhon General Hospital, 1500 Aekachai Rd, Muang Disctrict, Samutsakhon 74000, Thailand. Phone: 0-2691-3591, Fax: 0-2275-4077. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบภาวะโภชนาการด้วยการวัดระดับโปรตีนและไขมันในเลือด และวัดผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเลือดหลังจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 6-15 ปี บริโภคไข่อย่างต่อเนื่องวัสดุและวิธีการ: ผู้วิจัยใช้การศึกษาแบบทดลองชนิดสุ่มตัวอย่างในอาสาสมัครทั้งหมด 417 คน โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ ระหว่างอาสาสมัครที่ได้รับไข่ไก่เสริมจากอาหารปกติจำนวน 3 หรือ 10 ฟอง ต่อสัปดาห์เป็นเวลาต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ผลการศึกษา: อาสาสมัครได้รับการตรวจร่างกายเพื่อวัดข้อมูลทางมนุษยมาตร และวัดการเปลี่ยนแปลงของชีวเคมีในเลือด ผลการวิเคราะห์พบว่า serum albumin และ prealbumin ของอาสาสมัครร้อยละ 29.1 และ 20.8 ตามลำดับ มีภาวะพร่องโปรตีน นอกจากนี้ serum albumin และ prealbumin ยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ระดับ Total Cholesterol และ LDL และเมื่อเปรียบเทียบอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างของระดับชีวเคมีในเลือดระหว่างกลุ่มที่ได้บริโภคไข่ไก่ 3 ฟอง และ 10 ฟอง อย่างไรก็ตามหลังการรับประทานไข่ไก่เสริมไปกับมื้ออาหารปกติ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับ Total cholesterol, LDL and ratio of Total cholesterol to HDL level ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ในทางกลับกัน albumin, prealbumin และ HDL มีค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (p < 0.001)สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันยังคงพบเด็กวัยเรียนชั้นประถมเขตชนบทที่มีภาวะขาดโปรตีนในเลือดอยู่การให้รับประทานไข่เสริมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ฟอง ในกลุ่มเด็กวัยเรียนสามารถแก้ไขปัญหาการขาดโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถประเมินได้จากดัชนีชี้วัดของค่าชีวเคมี นอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลดีต่อระดับโคเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, March ปีที่: 93 ฉบับที่ 3 หน้า 301-309
คำสำคัญ
Protein malnutrition, Egg supplements, Lipid profiles, Thai children, Pre albumin, Rural areas