ผลของการใช้ยาอะเล็นโดรเนตต่อการเพิ่มมวลกระดูกข้อเท้าและอุบัติการณ์ของกระดูกสันหลังยุบในผู้ป่วยโรคเรื้อนชายสูงอายุ
ธนา สุตังคนานุ
Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control
บทคัดย่อ
การรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้ป่วยโรคเรื้อนยังไม่มีระบบการรักษาที่ได้ผลชัดเจน เนื่องจากขาดการทดลองศึกษาวิจัยทางคลินิกในการใช้วิธีการวัดความชงัดของยาที่ใช้รักษาที่มีผลต่อการเพิ่มมวลกระดูก หรือต่ออุบัติการณ์ของการเกิดกระดูกสันหลังยุบในผู้ป่วยดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษา เพื่อประเมินผลด้านการรักษาของการให้ยาอะเล็นโดรเนตทางปากในผู้ป่วยโรคเรื้อนชายที่เกิดภาวะกระดูกพรุน ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยชายรวม 23 ราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มอายุ 63-80 ปี ได้รับการสุ่มคัดเลือกแบบตั้งใจและแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเอ ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองรวม 12 รายที่ได้รับยาอะเล็นโดรเนตทางปากวันละ 10 มก. ทุกวัน และกลุ่มบี.ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมรวม 11 ราย ซึ่งได้รับยาเทียมทุกวันเช่นกัน การวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ข้อเท้าใช้วัดโดยเครื่องตรวจอัลตราซาวด์แบบเคลื่อนที่ซึ่งวัดเกณฑ์วัดมาตรฐานกับเครื่อง DEXA scan และการศึกษา จากการถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูกสันหลังส่วนทรวงอกและเอวที่ยุบเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินผลการรักษาหลัง 6 เดือนและ12 เดือน ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างอายุและดัชนีมวลกายรวมทั้งความหนาแน่นของมวลกระดูก ตลอดจนต่อการยุบของกระดูกสันหลังระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและพบจากการศึกษาครั้งนี้ด้วยว่า การให้ยาอะเล็นโดรเนตทางปากสามารถป้องกันได้ชัดเจนกว่าต่อการยุบของกระดูกสันหลังโดยการเกิดการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกของข้อเท้า ขณะที่ในผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาเทียมไม่พบการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ข้อเท้าและไม่สามารถป้องกันกระดูกสันหลังยุบได้เนื่องจากการเกิดภาวะกระดูกพรุน ผลการวิจัยจึงบ่งชี้ว่าการให้ยาอะเล็นโดรเนตทางปากสามารถป้องกันการเกิดกระดูกสันหลังยุบได้ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ข้อเท้าในผู้ป่วยโรคเรื้อนชายสูงอายุ
ที่มา
วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย ปี 2550, September-December ปีที่: 5 ฉบับที่ 3 หน้า 121-129
คำสำคัญ
การเพิ่มมวลกระดูกข้อเท้า, ผลการให้ยาอะเล็นโดรเนต, ผู้ป่วยโรคเรื้อนชายสูงอายุ, อุบัติการณ์กระดูกสันหลังยุบ, Effects of alendronate, Ankle bone mineral density, Incidence of vertebral fracture, Elderly male patients with leprosy