การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต และภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุด้วยวิธี Home skin traction กับการรักษาโดยการผ่าตัด
จิราพร ชนยุทธ, ชเนนทร์ ถนอมสิงห์, ศิริพร ชิตสูงเนิน, ศุภมาส ลิ่วศิริรัตน์, สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์*, สุมนา ศรีสุวรรณานุกรDepartment of Orthopedics, Maharat Nakhonratchasima Hospital
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบ prospective cohort study ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาโดยการทำผ่าตัดและวิธีดึงถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนังที่บ้าน (home skin traction) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย Intertrochanteric fracture อายุ 60 ปี ขึ้นไป อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา และเข้ารับการรักษาในกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาโดยได้รับการรักษาทั้งวิธีทำผ่าตัดตามโลหะและวิธี home skin traction ในเดือนตุลาคม 2549- กันยายน 2551 จำนวน 78 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติดัชนี Barthel’s index activities of daily living และแบบประเมินคุณภาพชีวิต SF-36 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ independent t-test จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 64.1 เป็นผู้ป่วยหญิง อายุเฉลี่ย 81.2 ปี ได้รับการรักษาโดยวิธี home skin traction 43 ราย และได้รับการรักษาโดยการทำผ่าตัดตามโลหะ 35 ราย จากการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 และคะแนนเฉลี่ย Barthel’s index activities of daily living ของกลุ่มผ่าตัดมากกว่ากลุ่ม home skin traction อย่างมีนัยสำคัญที่ p < 0.05 และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการทำผ่าตัดพบน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยวิธี home skin traction
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2553, May-June
ปีที่: 19 ฉบับที่ 3 หน้า 422-433
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, complication, กระดูกสะโพกหัก, ดึงถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนังที่บ้าน, Quality of life, Hip fracture, Home skin traction