การใส่ท่อช่วยหายใจอย่างรวดเร็วด้วย rocuronium ขนาด 0.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อนำสลบด้วย ketamine เปรียบเทียบกับ propofol
กริช นนทวาสี, กฤษณ์ ปัญจสวัสดิ์วงศ์, วรวุธ ลาภพิเศษพันธุ์*, วิชัย ชื่นจงกลกุลDepartment of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand: E-mail:[email protected]
บทคัดย่อ
บทนำ Rocuronium เป็นยาหย่อนกล้ามเนื้ออีกชนิดที่สามารถใช้ในการใส่ท่อช่วยหายใจอย่างรวดเร็ว (rapid sequence induction: RSI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ succinylcholine แต่อย่างไรก็ตามขนาดยา rocuronium ที่เหมาะสมในการใส่ท่อช่วยหายใจคือ 1 มก./กก. ซึ่งการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อในขนาดสูงนี้ทำให้การฟื้นตัวจากการหย่อนกล้ามเนื้อช้าตามไปด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใส่ท่อช่วยหายใจอย่างรวดเร็วด้วยยาหย่อนกล้ามเนื้อ rocuronium ขนาดต่ำ 0.45 มก./กก. เมื่อนำสลบด้วย ketamine เปรียบเทียบกับ propofol ในแง่ของสภาพขณะใส่ท่อช่วยหายใจ (Intubating condition) โดยจำลองสถานการณ์ RSI แต่ไม่กดกระดูก cricoidรูปแบบการศึกษา ผู้ป่วยนัดมาผ่าตัดและได้รับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกายโดยใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 80 คน ที่มี ASA physical status ระดับ 1-2 จะถูกสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 40 คน โดยกลุ่ม K คือกลุ่มที่ได้รับ ketamine 2.5 มก./กก. และกลุ่ม P ได้รับ propofol 2.5 มก./กก. ทั้งสองกลุ่มให้ร่วมกับ rocuronium 0.45 มก./กก. ทำการใส่ท่อช่วยหายใจที่เวลา 75 วินาทีหลังจากฉีดrocuronium ประเมินสภาพขณะใส่ท่อช่วยหายใจ, twitch suppression ของกล้ามเนื้อ adductorpollicis และ hemodynamic responsesผลการศึกษา สามารถใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จในผู้ป่วยทุกคนของทั้งสองกลุ่มในการใส่ครั้งแรกสภาพขณะใส่ท่อช่วยหายใจที่ยอมรับได้ทางคลินิก (good หรือ excellent) พบในกลุม่ K ร้อยละ 90เมื่อเทียบกับกลุ่ม P ซึ่งพบร้อยละ 85 (p=0.499) สภาพขณะใส่ท่อช่วยหายใจที่ดีมากพบร้อยละ 67.5 และร้อยละ 57.5 ในกลุ่ม K และกลุ่ม P ตามลำดับ (p=0.356) ไม่พบความแตกต่างของ twitch suppression ขณะใส่ท่อช่วยหายใจและเวลาเริ่มออกฤทธิ์ของ rocuronium หลังได้รับยานำสลบพบความดันโลหิตในกลุ่ม K เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเพิ่มสูงกว่ากลุ่ม P (p=0.000)วิจารณ์และสรุป ถึงแม้ว่า ketamine จะมีฤทธิ์แก้ปวดและกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด แต่จากการศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่นำสลบด้วย ketamine มีสภาพขณะใส่ท่อช่วยหายใจไม่แตกต่างจากกลุ่ม propofol โดยส่วนใหญ่ในทั้งสองกลุ่มมีสภาพขณะใส่ท่อช่วยหายใจที่ยอมรับได้ทางคลินิก ดังนั้นการนำสลบด้วย ketamine หรือ propofol 2.5 มก./กก. ตามด้วย rocuronium 0.45 มก./กก. จึงเป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการใส่ท่อช่วยหายใจอย่างรวดเร็วเมื่อผู้ป่วยมีข้อห้ามในการใช้ succinylcholine และต้องการระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยาหย่อนกล้ามเนื้อสั้น ส่วนการจะเลือกใช้ยานำสลบตัวใดระหว่าง ketamine หรือ propofol ให้พิจารณาจากผลกระทบต่อผู้ป่วยจากฤทธิ์ทางระบบไหลเวียนเลือดของยาแต่ละตัว
ที่มา
เชียงใหม่เวชสาร ปี 2553, March
ปีที่: 49 ฉบับที่ 1 หน้า 11-17
คำสำคัญ
Propofol, Ketamine, Rocuronium, การใส่ท่อช่วยหายใจอย่างรวดเร็ว, Rapid sequence induction