การทรงตัว การล้ม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ
วัณทนา ศิริธราธิวัฒน์, สุกัลยา อมตฉายา*, เยาวราภรณ์ ยืนยงค์
School of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University, Amphoe Muang, Khon Kaen Province
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการทรงตัวอุบัติการณ์การล้ม  และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาภาคตัดขวางในอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี ที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 300 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำกลุ่มละ 150 คน โดยใช้แบบสอบถามอาสาสมัครได้รับการประเมินความสามารถด้านการทรงตัวโดยใช้ Berg Balance Scale (BBS) และ Timed Up and Go Test (TUGT) ประเมินอุบัติการณ์การล้มและคุณภาพชีวิตโดยการใช้แบบสอบถามผลการศึกษา: อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำมีอายุเฉลี่ย 69.65 ±5.09 ปี ส่วนอาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายเป็นประจำมีอายุเฉลี่ย 68.12± 4.88 ปี โดยลักษณะพื้นฐานของอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายเป็นประจำมีความสามารถในการทรงตัวและคุณภาพชีวิตดีกว่า โดยมีอุบัติการณ์การล้มน้อยกว่ากลุ่มไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยความแตกต่างของความสามารถด้านการทรงตัวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุป: ผลการศึกษาแสดงเป็นนัยว่าการออกกำลังกายในระดับปานกลางเป็นประจำช่วยชะลอความเสี่ยงของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่มักพบในผู้สูงอายุได้
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2553, April-June ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 103-108
คำสำคัญ
elderly, Exercise, การออกกำลังกาย, Balance, Fall, การทรงตัว, การล้ม, Quality of life, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ