ผลของกิจกรรมดนตรีที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อของนักเรียนที่มีความบพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย
นิรมัย คุ้มรักษา
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลราชานุกูล
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของกิจกรรมดนตรีที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-7 ปี ระดับเชาวน์ปัญญา 35-68 ไม่มีความพิการซ้ำซ้อน เป็นนักเรียนตึกเด็กเล็ก 2 โรงพยาบาลราชานุกูล กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2537 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบจับคู่แบ่งตามความสามารถของการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ระดับเชาวน์ปัญญา แล้วสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมดนตรีและกลุ่มควบคุมไม่ได้รับกิจกรรมดนตรี แต่ได้รับกิจกรรมตามปกติที่โรงเรียนกำหนด แบบแผนการทดลองของการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบ Randomized Control-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และโปรแกรมดนตรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การทดสอบของวิลคอกซัน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัยหลังจากได้รับกิจกรรมดนตรี มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย หลังจากได้รับกิจกรรมดนตรีมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่แตกต่างกันกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัยที่ไม่ได้รับกิจกรรมดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับกิจกรรมดนตรีมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สูงกว่านักเรียนที่ได้รับกิจกรรมดนตรี
ที่มา
วารสารราชานุกูล ปี 2540, 7-12 ปีที่: 12 ฉบับที่ 2 หน้า 7-12