การบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ต่อผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า: การศึกษานำร่อง
นิตินาถ วงษ์ตระหง่าน*, ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา, อภิชนา โฆวินทะ
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ต่อ การลดปวดในกลุ่มผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอและบ่ารูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอก เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่กลุ่มประชากร: ผู้เข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 35 คน เป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอและบ่ามากกว่า 1 เดือน และระดับความปวด (numeric rating scale, NRS) ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป วิธีการศึกษา: แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม เพื่อบริหารแขนนาน 6 สัปดาห์ กลุ่มแรกบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ ส่วนกลุ่มที่สองซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมให้ยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารปวด ณ สัปดาห์ที่ 0 และ 6 ผลการศึกษา: ร้อยละ 89.28 ของผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 45 ปี ทุกคนปวดเมื่อยบริเวณคอและบ่าจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (myofascial pain syndrome) กลุ่มบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ มีค่าเฉลี่ยระดับความปวดสูงสุด ณ สัปดาห์ที่ 0 และ 6 เท่ากับ 6.79, 4.36 ตามลำดับ ซึ่งต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.004) ส่วนกลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อ) มีค่าเฉลี่ยระดับความปวดสูงสุดลงลงเช่นเดียวกัน คือ จาก 6.50 ณ สัปดาห์ที่ 6 เหลือ 5.43 ในสัปดาห์ที่ 6 (p=0.018) แต่ค่าเฉลี่ยระดับความปวดสูงสุดที่ลดลงของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.148) สรุป: การบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ช่วยลดอาการปวดบริเวณคอและบ่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอและบ่ามากกว่า 1 เดือนได้ ไม่แตกต่างกับการบริหารยืดกล้ามเนื้อ
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2552, September ปีที่: 19 ฉบับที่ 3 หน้า 79-85
คำสำคัญ
Myofascial pain syndrome, Exercise therapy, Muscle stretching exercise, Neck pain, Shoulder pain, กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด, กายบริหารยืดกล้ามเนื้อ, กายบริหารเพื่อการบำบัด, ปวดคอ, ปวดบ่า