การศึกษานาร่องผลการฝึกมือและแขนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังโดยการฝึกด้วยกระจก
จาตุรนต์ บุญพิทักษ์*, สยาม ทองประเสริฐ, อภิชนา โฆวินทะ
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฝึกด้วยกระจกต่อความสามารถใช้มือและแขนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังรูปแบบการวิจัย: การศึกษานำร่องแบบสุ่ม โดยการพรางผู้ประเมินสถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองนานกว่า 6 เดือน และระดับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการมือและแขน (Brunnstrom stages of motor recovery) ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง 12 คน (ชาย 10 คน หญิง 2 คน) ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกแบบดั้งเดิมนาน 2 สัปดาห์ ฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการฝึกแบบดั้งเดิมร่วมกับฝึกโดยใช้กระจกเพิ่มอีก 1 ชั่วโมงต่อวัน ประเมินระดับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการมือและแขน ความแข็งแรงของมือและนิ้วมือข้างที่อ่อนแรง (grip and pinch strength) และประเมินความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนโดย (Minnesota manual dexterity test, MMDT) ก่อนและหลังการฝึกผลการศึกษา: กลุ่มทดลองที่ฝึกเพิ่มด้วยกระจกมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง ก่อนและหลังการฝึก เท่ากับ 14.886/6.03 และ 17.11/6.30 กิโลกรัม ตามลำดับ (p=0.188, p = 0.192); เวลาที่ใช้ทำ MMDT ลดลงจาก 222 เป็น 193 วินาที (p = 0.133) ส่วนกลุ่มที่ฝึกแบบดั้งเดิมมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือข้างที่อ่อนแรง ก่อนและหลังการฝึกเท่ากับ 17.17/5.83 และ 18.06/6.41 กิโลกรัม ตามลำดับ (p=0.309, p= 0.132); เวลาที่ใช้ทำ MMDT ลดลงจาก 707 เป็น 368 วินาทีเช่นกัน (p = 0.152) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างก่อนและหลังการฝึกพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงของมือ/นิ้วมือและความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนเพิ่มขึ้นไม่ต่างกัน (p=0.771, p= 0.901, p = 0.761) ส่วนการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการมือและแขนคงเดิมสรุป: การศึกษานำร่องครั้งนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่าการเพิ่มการฝึกด้วยกระจกเป็นเวลา 2 ชั่วโมงให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง เพิ่มความสามารถใช้มือและแขนได้แตกต่างกับการฝึกด้วยวิธีแบบดั้งเดิมอย่างเดียว
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2552, January ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 20-28
คำสำคัญ
Stroke, Rehabilitation, โรคหลอดเลือดสมอง, Upper extremities motor skills, ทักษะการทำงานของมือและแขน, ฟื้นฟู