ความน่าเชื่อถือของการวัดค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย จากการตรวจหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด multidetector computed tomography ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการฉีดสารทึบรังสีผ่านสายสวนเพื่อประเมินการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย
นฤมล เชาว์สุวรรณกิจ, ไพโรจน์ ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์, สมใจ หวังศุภชาติ, สุพจน์ ศรีมหาโชตะDepartment of Radiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของการวัดค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (LVEF)จากการตรวจหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด multidetector computed tomography (MDCT)ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการฉีดสารทึบรังสีผ่านสายสวนเพื่อประเมินการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (biplane cine left ventriculography) ซี่งเป็นการตรวจมาตรฐานในปัจจุบันวัสดุและวิธีการ: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย 15 ราย ที่ได้รับการทำ cardiac MDCT และ ventriculogram ภายในระยะเวลาห่างกันไม่เกิน 14 วัน ค่า LVEF จาก cardiac MDCT วัดโดยวิธี Simpson เปรียบเทียบกับค่า LVEF ที่ได้จาก ventriculogram ซึ่งวัดโดยวิธี area length ประเมินโดย intraclass correlation (ICC) power analysis (SPSS analysis software)ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 15 ราย เพศชาย 6 ราย เพศหญิง 9 ราย อายุเฉลี่ย 54 + 10 ปี ค่าเฉลี่ย LVEFจาก cardiac MDCT และจาก ventriculogram เท่ากับ 54.7 + 10% และ 56.3 + 10% ตามลำดับ ค่า LVEF จาก cardiac MDCT ซึ่งประเมินโดยผู้แปลผลคนแรกเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ จากผู้แปลผลคนที่สองมีค่าสัมพันธ์กันดีกับค่า LVEF ที่ได้ จาก ventriculogram (ICC = 0.99 และ 0.98 ตามลำดับ) ความแตกต่างระหว่างค่า LVEF จาก cardiac MDCT ที่ได้จาก ผู้แปลผลทั้งสองมีค่าแตกต่างกันน้อยมาก (ICC = 0.9)สรุป: การวัดค่า LVEF จาก cardiac MDCT เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและแม่นยำสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่า LVEF ที่ได้จาก ventriculogram
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, March
ปีที่: 90 ฉบับที่ 3 หน้า 532-538
คำสำคัญ
Cardiac, CT, ejection, fraction, Left, MDCT, ventricular