การนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการประคบด้วยสมุนไพร: ประสิทธิผลในการลดอาการปวดหลังระยะหลังคลอด
ดอกไม้ วิวรรธมงคล, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, ทวี เลาหพันธ์, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, พรรณี หาญคิมหันต์, พัสราภรณ์ ศุภวงศ์วรรธนะ, สร้อยศรี เอี่ยมพรชัย*, สิริกานต์ ภูโปร่ง, สุภาวดี หนองบัวดี, สุรางค์ วิเศษมณี, อัครินทร์ นิมมานนิตย์, เรขวรีย์ ประพันธ์โรจน์Center of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาประสิทธิผลของการนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการประคบด้วยสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นหลังคลอดช่วงแรก (๒๔ ชั่วโมง หลังคลอด) และการดูแลรักษาตามมาตรฐานการพยาบาลปรกติวิธีการ: ประชากรศึกษา ๑๐๐ ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ ๕๐ ราย กลุ่มทดลองได้รับการนวดไทยแบบราชสำนักและการประคบด้วยสมุนไพรเป็นเวลา ๖๐ นาที กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานการพยาบาลปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินระดับความปวดหลังด้วยวิธีประเมินระดับการปวดเป็นตัวเลข ก่อนและหลังการศึกษาผลการศึกษา: ก่อนทดลอง ระดับความปวดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน [๕(๕-๖) และ ๕(๕-๖); ค่าพี > ๐.๓๖๕] หลังการทดลองพบว่าระดับอาการปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [๔(๓-๔.๒๕); ค่าพี < ๐.๐๐๑] เมื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานของระดับอาการปวดพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [๒(๑-๓) และ ๐(๐-๒); ค่าพี < ๐.๐๐๑] แต่ไม่มีความสำคัญทางเวชกรรม กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจผลการรักษาในระดับสูงและไม่พบอาการแทรกซ้อนสรุป: การนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการประคบด้วยสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการปวดหลังระดับปานกลาง ที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอดช่วงแรกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางเวชกรรม อาสาสมัครมีความพึงพอใจในระดับสูง และไม่พบอาหารแทรกซ้อน
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2552, May-December
ปีที่: 7 ฉบับที่ 2 หน้า 181-188
คำสำคัญ
SATISFACTION, Back pain, Court-type Thai traditional massage, Hot herbal compress, Postpartum period, การนวดไทยแบบราชสำนัก, การประคบด้วยสมุนไพร, หลังคลอด, อาการปวดหลัง